Link Copied
การพยากรณ์อากาศ+
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอลโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
การพยากรณ์อากาศ+
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอลโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
การศึกษาลมฟ้าอากาศ
การศึกษาเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศเป็นสิ่งสำคัญ เพราะขบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศจะมีผลต่อสภาพแวดล้อมบนพื้นผิวโลก เช่น ดิน น้ำ และสิ่งมีชีวิต โดยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศด้วย
ดินเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลผลิตอาหาร ที่อยู่อาศัย ฯลฯ การเกิดดินจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปัจจัย 5 ประการ คือ ภูมิอากาศ พืชและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ สภาพภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิดดิน (parent material) และเวลา ซึ่งในส่วนของภูมิอากาศที่มีอิทธิพลต่อดินนั้นจะเห็นได้ชัดในกรณีเช่นเขตภูมิอากาศต่าง ๆ ของโลกมีผลให้เกิดดินประเภทต่าง ๆ เช่น ดินทะเลทราย (desert soil) ดินทุนดรา (tundra) เป็นต้น
ภูมิอากาศมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพืช องค์ประกอบภูมิอากาศที่มีอิทธิพลต่อพืชได้แก่ แสงแดด อุณหภูมิ และความชื้น เป็นต้น โดยแสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตของพืช เพราะแสงแดดมีบทบาทโดยตรงในการสังเคราะห์แสง อุณหภูมิก็นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญเช่นเดียวกัน โดยพืชแต่ละชนิดจะต้องการอุณหภูมิที่พอเหมาะสำหรับการเจริญเติบโต นอกจากนี้อุณหภูมิของดินก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชด้วย ส่วนความชื้นไม่ว่าจะเป็นความชื้นในอากาศหรือความชื้นในดินล้วนมีความสำคัญต่อพืช เช่น ถ้ามีความชื้นน้อยเกินไปก็จะจำกัดการเจริญเติบโตของพืช หรือถ้ามีความชื้นมากเกินไปก็จะทำให้พืชเน่าตาย หรืออาจเป็นการเพิ่มโรคให้แก่พืช เป็นต้น
สำหรับมนุษย์แม้ปัจจุบันจะมีการพัฒนาและมีความเจริญในด้านต่าง ๆ มากขึ้น แต่ภูมิอากาศก็ยังเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์อยู่ เช่น การที่ภูมิอากาศมีอิทธิพลต่อพืชและผลผลิตจึงมีผลกระทบต่อการบริโภคของมนุษย์ด้วย รวมทั้งลักษณะที่อยู่อาศัย การตัดสินใจในการสร้างบ้านเรือนและการออกแบบวางผังบ้านเรือนเพื่อให้อยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย หรือลักษณะภูมิอากาศอาจเอื้ออำนวยต่อโรคหรือพาหะของโรคอันอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ได้ เป็นต้น ในทางกลับกันมนุษย์ก็มีส่วนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศด้วยเช่นกัน
ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มนุษย์มักใช้ชีวิตง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต เช่นเรื่อง อาหาร น้ำ เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และความปลอดภัย รวมทั้งความปลอดภัยจากสภาวะอากาศที่รุนแรง ผู้คนเหล่านี้ใช้เวลาหลายศตวรรษในการเรียนรู้วิถีทางที่บรรยากาศมีผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ เรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากสภาพอากาศแบบหนึ่ง และหลีกเลี่ยงจากสภาพอากาศอีกแบบหนึ่งที่ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดประโยชน์ ชนหมู่ใดเผ่าใดที่มีการเรียนรู้ในเรื่องเหล่านี้ได้ดีจะมีการพัฒนาไปสู่ความรุ่งเรืองได้เร็ว ตรงกันข้ามกับผู้ที่ไม่เรียนรู้จะมีการพัฒนาช้าและอาจถูกกลืนเข้าหมู่อื่นหรืออาจสูญเผ่าพันธุ์ไป
ถ้าพิจารณาสังคมย่อย ๆ แบบดั้งเดิมในสมัยก่อน จะเห็นว่าคนเราใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ในเรื่องของสภาวะอากาศได้เป็นอย่างดี เช่น การสร้างและออกแบบบ้านให้อยู่อาศัยได้อย่างสุขสบายเหมาะกับสภาพอากาศ ปลูกพืชที่เหมาะสมในท้องทุ่งนา รู้จักการกักเก็บน้ำแบบง่าย ๆ และมีการเลือกนำสัตว์มาใช้งาน ฯลฯ ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าภูมิอากาศมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่
รูปที่ 2 และรูปที่ 3 แสดงให้เห็นแนวคิดที่กลุ่มสังคมของมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ ได้แก่ สภาวะอากาศดี ความแห้งแล้ง และน้ำท่วม เป็นต้น โดยวงกลมหมายถึงกลุ่มคน และเส้นหมายถึงความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง
รูปที่ 2 แสดงถึงกลุ่มสังคมย่อย ๆ แบบดั้งเดิม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่ม ถ้าตัดเส้นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องออกไป ก็จะมีผลกระทบต่อกลุ่มคนเพียง 1 กลุ่ม แต่การพัฒนาสังคมสมัยใหม่ตามรูปที่ 3 มีกลุ่มคนเพิ่มขึ้น มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่ม บางกลุ่มไม่จำเป็นต้องทำอะไรด้วยตนเอง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาพแวดล้อม ไม่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้พฤติกรรมของบรรยากาศที่มีผลต่อกิจกรรมของมนุษย์เหมือนในสมัยก่อน แต่จะให้ความเชื่อถือและปฏิบัติตามกลุ่มคนที่ได้เคยเรียนรู้มาแล้ว ดังนั้นถ้าตัดเส้นความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาพแวดล้อมออกไปก็จะมีผลกระทบต่อกลุ่มคนอีกหลายกลุ่ม
เอกสารอ้างอิง
- Lowry, W., 1972. Compendium of Lecture Notes in Climatology for Class IV Meteorological Personnel. WMO-No. 327.
- J.O., Ayode, 1983. Introduction to Climatology For the Tropics. John Wiley Sons Ltd.