Link Copied
การแผ่รังสี
Radiation
กระบวนการที่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจาย ผ่านช่องว่าง
การดูดกลืน
Absorption
1. กรรมวิธีที่วัตถุหรือสสารจับหรือดูดกลืนพลังงานการแผ่รังสีตก (incident radiant energy) เอาไว้สสารซึ่งทำหน้าที่ดูดกลืนพลังงานอาจทำหน้าที่เป็นมัชฌิมของการสะท้อน (medium of reflection) การหักเห (refraction) การแพร่กระจาย (diffraction) หรือการขจาย (scattering) ได้ด้วย
2. โดยทั่วไปหมายถึงการที่สสารหนึ่งรวม (taking up) หรือดูดซึมเอาอีกสสารหนึ่งเข้าไปโดยการรวมกันทางเคมีของสสารทั้งสองชนิด
แฟคเตอร์ของการดูดกลืน หรือพลังความสามารถในการดูดกลืน
Absorption factor (absorptivity)
การวัดปริมาณพลังงานการแผ่รังสี (radiant energy) ซึ่งสสารที่กำหนดและมีขนาด (dimension) จำกัดได้ทำการดูดกลืนเอาไว้ หาได้จากอัตราส่วนระหว่างปริมาณพลังงานการแผ่รังสีทีถูกดูดกลืนกับปริมาณพลังงานรังสีทั้งหมดที่ตกลงบนพื้นที่นั้น absorptivity ของสสารใด ๆ ขึ้นอยู่กับ (เป็นพังค์ชั่นของ) อุณหภูมิ หรือความยาวคลื่นของรังสี ถ้าเป็นสสารที่ไม่ทึบแสงจะขึ้นอยู่กับความหนาหรือปริมาตรของสสารนั้นด้วย
สัมประสิทธิ์ของการดูดกลืน
Absorption coefficient
1. การวัดปริมาณพลังงานรังสีตกตามปกติที่ถูกดูดกลืนต่อหนึ่งหน่วยระยะทาง หรือต่อหนึ่งหน่วยมวลของมัชฌิมที่เป็นตัวดูดกลืน
2. ในเรื่องของเสียง หมายถึงกรรมวิธีของการที่พลังงานเสียงเปลี่ยนเป็นพลังงานในรูปอื่น (โดยมากเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อน)
วิชาการแผ่รังสี
Actinometry
วิชาฟิสิคส์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวกับการศึกษาและการตรวจการแผ่รังสี (radiation) ในวิชาอุตุนิยมวิทยาได้แก่การตรวจวัดรังสีดวงอาทิตย์ (solar radiation) รังสีของบรรยากาศ (atmospheric radiation) และรังสีของโลก (terrestrial radiation)
แสงเรืองฟ้า
Airglow
เป็นปรากฏการณ์เรืองแสงซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากก๊าซชนิดต่าง ๆ ในบรรยากาศชั้นสูงแผ่รังสีออกมาในแบบกึ่งคงที่ (quasi permanent emission) แถบบริเวณละติจูดกลางและละติจูดต่ำ มองเห็นได้ชัดในเวลากลางคืนเรียกว่า nightglow และอาจเกิดขึ้นได้ในตอนกลางวันเรียกว่า dayglow
แอลบีโดของโลก
Albedo of the Earth
อัตราส่วนระหว่างการแผ่รังสี (พลังงานการแผ่รังสีหรือกำลังส่องสว่าง - radiant energy or luminous energy) ซึ่งสะท้อนกลับจากพื้นโลกและจากบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกกับรังสีดวงอาทิตย์ที่ตกสู่โลกทั้งหมด
การลดความสว่างของบรรยากาศ
Atmospheric extinction
การลดปริมาณลำแสงสว่าง (luminous flux) ลงโดยบรรยากาศ ดู Attenuation of solar radiation
การดูดกลืนของบรรยากาศ
Atmospheric absorption
การเปลี่ยนแปลงพลังงานจากการแผ่รังสีไปเป็นรูปของพลังงานความร้อน พลังงานกลศาสตร์ และพลังงานไฟฟ้า ฯลฯ เป็นต้น โดยเกิดปฏิกริยากับส่วนประกอบในบรรยากาศรวมถึงการที่ปริมาณรังสีลดน้อยลงในขณะผ่านบรรยากาศของโลกด้วย
การแผ่รังสีของบรรยากาศ
Atmospheric radiation
ส่วนหนึ่งของการแผ่รังสีจากโลก (terrestrial radiation) ซึ่งบรรยากาศทำหน้าที่ส่งออกมา
หน้าต่างบรรยากาศ
Atmospheric window
ช่วงหนึ่งของสเปคตรัม ซึ่งบรรยากาศดูดกลืนการแผ่รังสีจากโลก (terrestrial radiation) ได้น้อยที่สุด
การลดรังสีดวงอาทิตย์
Attenuation of solar radiation
การสูญเสียพลังงานการแผ่รังสีซึ่งเดินทางผ่านบรรยากาศของโลกเข้ามา การสูญเสียนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการขจาย (scattering) รังสีโดยโมเลกุลของอากาศ โดยการเลือกดูดกลืนรังสีบางอย่าง (selective absorption) ของโมเลกุลบางชนิด และโดยการดูดกลืนและขจายของอนุภาคในบรรยากาศ (aerosols) ด้วย
วัตถุดำ
Black body
วัตถุสมมติฐานซึ่งสามารถดูดกลืนปริมาณการแผ่รังสีตกได้ทั้งหมดโดยไม่จำกัดความยาวคลื่นและทิศทาง นอกจากนี้ยังเป็นตัวแผ่กระจายรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic radiation) ออกไปได้หมดทุกช่วงคลื่น และสามารถส่งรังสีออกมาโดยมีความเข้มมากที่สุด ณ อุณหภูมิที่กำหนด
การแผ่รังสีของวัตถุดำ
Black body radiation
การแผ่รังสีของวัตถุดำโดยสมมติ (ideal black body) ซึ่งจะให้ค่าปริมาณการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในทุกช่วงคลื่นมากที่สุดตามทฤษฎีเท่าที่วัตถุจะสามารถแผ่ออกมาได้ต่อหนึ่งหน่วยเนื้อที่ ณ อุณหภูมิที่กำหนด
การแผ่รังสีคอร์ปัสคูลาร์ หรือรังสีคอร์ปัสคูลาร์
Corpuscular radiation (corpuscular rays)
การแผ่รังสีของแสงที่ประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ อยู่ในรังสีนั้น โดยแพร่ออกมาจากวัตถุเรืองแสง (luminous body) ด้วยความเร็วสูงมาก
การแผ่รังสีคอสมิค หรือรังสีคอสมิค
Cosmic radiation (cosmic rays)
รังสีซึ่งมีพลังงานสูงมากและมีอำนาจในการส่องผ่านหรือทะลุทะลวง (penetrative power) ไปได้ไกลมาก รังสีนี้แผ่มาจากบริเวณของรังสีคอสมิค (cosmic ragion) หรือจากนอกอวกาศ (outer space) ในบรรยากาศของโลกรังสีคอสมิคมีมากที่สุดในระยะสูงประมาณ 20 กิโลเมตรจากพื้นโลก ต่ำจากระดับนั้นลงมา บรรยากาศจะทำหน้าที่ดูดกลืนรังสีคอสมิคเอาไว้ทำให้ปริมาณรังสีน้อยลงมาก แต่ที่ระดับน้ำทะเลก็ยังสามารถตรวจรังสีนี้ได้
แสงเรืองฟ้าในเวลากลางวัน
Dayglowแสงเรืองฟ้า (airglow)
ที่เกิดขึ้นในเวลากลางวัน อาจจะเรืองแสงได้เข้มกว่าที่เกิดในตอนกลางคืน และกือบจะไม่ต่างกับแสงสว่างของเวลากลางวันที่อยู่เบื้องหลังซึ่งสว่างกว่า
การส่องสว่างแบบแพร่กระจาย
Diffuse illumination
การส่องสว่างซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับรังสีตกโดยตรงจากดวงอาทิตย์ (direct solar radiation)
การแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์แบบแพร่กระจาย
Diffuse solar radiation
การแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์แบบแพร่กระจาย
การแผ่รังสีของท้องฟ้า
Sky radiation
รังสีจากดวงอาทิตย์ที่ลงมาถึงผิวพื้นโลกหลังจากที่ได้ถูกแพร่กระจายโดยอณูของบรรยากาศหรืออนุภาคที่ลอยอยู่ในบรรยากาศในขณะที่เดินทางผ่านบรรยากาศลงมา
การแผ่รังสีโดยตรงจากดวงอาทิตย์
Direct solar radiation
รังสีดวงอาทิตย์ที่ส่องทะลุโดยตรงถึงพื้นโลก
การแผ่รังสีลงสู่โลก (รังสีทั้งหมด)
Downward (total) radiation
รังสีจากดวงอาทิตย์และรังสีของโลก (solar and terrestrial radiations) ที่ตกลงสู่พื้นโลกโดยตรง
การแผ่รังสีของโลกกลับลงมา
Downward terrestrial radiatior
การแผ่รังสีของโลกกลับลงมา
การแผ่รังสีกลับลงมา
Atmospheric counter radiation
การแผ่รังสีของโลกซึ่งถูกส่งกลับมายังโลกจากบรรยกาศเป็นส่วนใหญ่
แสงจากโลก
Earth light (earthshine)
แสงสว่างจาง ๆ ตรงส่วนที่มืดของวงกลมแห่งดวงจันทร์ (moon's disc) ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ผิวพื้นโลกและบรรยากาศสะท้อนแสงอาทิตย์ขึ้นไปยังดวงจันทร์ จากการตรวจด้วยกล้องสเปคโตรสโคปปรากฏว่าแสงจากโลกจะมีสีน้ำเงินเข้มกว่าแสงอาทิตย์ที่ส่องไปยังดวงจันทร์โดยตรง
การแผ่รังสีที่มีประสิทธิผลสมดุลย์กัน
Effective radiation
สมดุลย์ของการแผ่รังสีของพื้นที่สีดำซึ่งหงายขึ้นสู่บรรยากาศ (ในแนวนอน) ณ อุณหภูมิซึ่งเท่ากับอุณหภูมิอากาศรอบ ๆ หรือ หมายถึง ผลต่างระหว่างรังสีอินฟราเรดที่ผิวพื้นโลกแผ่ออกไป (infrared terrestrial radiation) กับรังสีอินฟราเรดที่ตกลงมาจากบรรยากาศกลับสู่โลก ในเวลากลางวันผลต่างระหว่างรังสีอินฟราเรดดังกล่าวนั้นโดยทั่วไปแล้วจะน้อยกว่ารังสีจากดวงอาทิตย์ที่ผิวพื้นโลกได้รับ (insolation) มากทีเดียว ในตอนกลางคืนส่วนใหญ่จะเป็นพลังงานที่ผิวพื้นโลกเก็บสะสมไว้
การแพร่กระจาย หรือการส่งรังสี
Emittance - Radiant emittance
การวัดพลังงานการแผ่รังสีทั้งหมดที่ส่งหรือแพร่กระจายออกจากผิวพื้นวัตถุที่แพร่รังสี (emitting surface) ต่อหนึ่งหน่วยเนื้อที่ต่อหนึ่งหน่วยเวลา
การส่งรังสีของผิวพื้นโลก
Emittance of the earth' surface
การแผ่รังสีจากผิวพื้นโลกขึ้นไป (upward) โดยตรง
ปริมารการแผ่รังสี
Flux of radiation
ปริมาณการแผ่รังสี
พลังงานการแผ่รังสี
Radiant power
พลังงานที่ส่งออกมา (emitted) หรือพลังงานที่ถ่ายเท (transferred) หรือพลังงานที่ได้รับ (received) ในรูปของการแผ่รังสี (radiation)
การแผ่รังสีของโลก
Global radiation
รังสีรวมของรังสีโดยตรงจากดวงอาทิตย์ (direct solar radiation) กับรังสีที่แพร่กระจายจากท้องฟ้า (diffuse sky radiation) ซึ่งตกลงมา หรือรับไว้บนพื้นที่หนึ่งหน่วยเนื้อที่ในแนวนอน เครื่องมือที่ใช้วัดการแผ่รังสีของโลกเรียกว่า ไพรานอมิเตอร์ (pyranometer)
ผลของเรือนกระจก
Greenhouse effect
ผลของความร้อนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากบรรยากาศทำหน้าที่คล้ายเรือนกระจก (greenhouse) คือสามารถดูดกลืนรังสีคลื่นยาวไว้แต่ปล่อยให้รังสีคลื่นสั้นผ่านไป บรรยากาศชั้นต่ำร้อนขึ้นเนื่องจากดวงอาทิตย์แผ่รังสีลงมาสู่โลกในลักษณะของคลื่นสั้น จึงสามารถส่งผ่านบรรยากาศลงมาได้โดยไม่ถูกดูดกลืนแต่ผิวพื้นโลกจะดูดกลืนเอาไว้ และในขณะเดียวกันผิวพื้นโลกก็จะแผ่รังสีออกไปในลักษณะของคลื่นยาว ซึ่งบรรยากาศจะทำหน้าที่ดูดกลืนเอาไว้เป็นจำนวนมาก และบรรยากาศยังแผ่รังสีบางส่วนกลับลงมายังพื้นโลกอีก ขึงเป็นเหตุให้บรรยากาศชั้นต่ำร้อนขึ้น
การส่องสว่าง
Illumination
1. กรรมวิธีที่แสงส่องไปยังผิวพื้นใดหรือวัตถุใด หรือการส่องสว่างหรือความสว่างที่เกิดขึ้นเนื่องจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์
2. ความสว่างของวัตถุ
3. การส่องสว่างที่จุดใดจุดหนึ่งบนพื้นที่นั้น ๆ (at a point of a surface) เป็นผลลัพธ์ (quotient) ที่ได้จากปริมาณการส่องสว่างหรือลำแสงสว่าง (luminous flux) ที่ตกลงมาที่จุดใดจุดหนึ่งบนที่เล็ก ๆ (หนึ่งหน่วยเนื้อที่) ของผิวพื้นวัตถุ (material surface) ต่อพื้นที่ของวัตถุนั้น
4. ในเรื่องของเรดาร์ บางครั้งใช้กับความเข้มของปริมาณรังสี (irradiance) ของพลังงานไมโครเวฟ (microwave energy) ที่ปรากฏบนเป้า
รังสีดวงอาทิตย์บนพื้นโลก หรือพลังงานการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์
Insolation
1. โดยทั่ว ๆ ไป หมายถึง รังสีของดวงอาทิตย์ที่ได้รับโดยตรงบนผิวพื้นโลก (global radiation)
2. อัตราส่วนหรือจำนวนรังสีจากดวงอาทิตย์โดยตรง (direct solar radiation) ซึ่งตกลงบนพื้นที่หนึ่งหน่วยในแนวนอนที่จุดหนึ่งจุดใดบนพื้นโลกหรือเหนือพื้นโลก
ช่วงเวลาของรังสีดวงอาทิตย์
Insolation duration
มีความหมายแตกต่างกันสามประการคือ
1. ช่วงเวลาที่แสงอาทิตย์ส่องสว่างเต็มที่ (bright sunshine duration) คือ ช่วงระยะเวลาที่แสงอาทิตย์มีความเข้มเพียงพอที่จะทำให้เกิดเงาทอดออกไปอย่างชัดเจน
2. ช่วงระยะเวลาของแสงอาทิตย์ตามภูมิประเทศ (geographically or to pographically possible sunshine duration) คือช่วงระยะเวลานานที่สุดซึ่งรังสีดวงอาทิตย์สามารถส่องถึงพื้นที่ ๆ กำหนด
3. ช่วงระยะเวลาของดวงอาทิตย์ที่นานที่สุด (maximum possible solar radiation) คือช่วงระยะเวลาตั้งแต่ดวงอาทิตย์เริ่มขึ้นจนถึงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกนับตั้งแต่ขอบสีจางตอนบนของดวงอาทิตย์ (upper limb of the sun) เริ่มโผล่พ้นจนกระทั่งลับขอบฟ้าไป
ความเข้มของการแผ่รังสี
Intensity - Radiant intensity
ในเรื่องการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ความเข้มของการแผ่รังสีวัดเป็นปริมารการแผ่รังสี (radiant flux) ต่อหนึ่งหน่วยของมุมโซลิค (solid angle) จากต้นกำเนิด (ต้นกำเนิดหนึ่งในทิศทางที่กำหนด) โดยมากมักจะเรียกว่า radiant intensity เพื่อให้แตกต่างจากคำว่า luminous intensity
ความเข้มของปริมาณรังสี หรือปริมาณการแผ่รังสีต่อหนึ่งหน่วยเนื้อที่ (ที่จุดหนึ่งจุดใดบนผิวพื้น)
Irradiance - Flux of radiation per unit area
ปริมาณการแผ่รังสีทั้งหมด (radiant flux) ที่ได้รับบนหนึ่งหน่วยพื้นที่ ๆ กำหนด คำนี้เป็นคำที่ใช้ทั่วไปสำหรับความเข้มของปริมาณรังสี (flux density) ของการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งต่างจากคำว่า illuminance
การแผ่ความเข้มของปริมาณรังสี (ที่จุดใดจุดหนึ่งบนผิวพื้น)
Irradiation
เป็นผลคูณของความเข้มของปริมาณรังสี (irradiance) กับช่วงระยะเวลา (duration) ของการแผ่รังสีนั้น
เส้นไอโซเฮล หรือเส้นความยาวนานของแสงแดดเท่า
Isohel
เส้นโค้งซึ่งมีค่าของความยาวนานของแสงแดด (sunshine duration) เท่ากันในช่วงเวลาที่กำหนดให้ เช่น ในช่วงหนึ่งวัน
การแผ่รังสีเท่า
Isotropic radiation
การแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ในแบบแพร่กระจาย (diffuse solar radiation) โดยมีความเข้มเท่า ๆ กันในทุกทิศทาง
แสงสว่าง
Light
1. การแผ่รังสีที่สามารถมองเห็นได้ (มีความยาวคลื่นประมาณ 0.4 - 0.7 ไมครอน) ซึ่งพิจารณาโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของการส่องสว่าง (luminous efficiency) ซึ่งได้ส่วนกับความสามารถในการที่จะกระต้นความรู้สึกของสายตา (sense of sight)
2. คุณสมบัติในการมองเห็น (perception) หรือความรู้สึก (sensation) เกี่ยวกับการมองเห็นทั้งหมด ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของอวัยวะเกี่ยวกับการมองเห็น (organ of vision) และความรู้สึกนั้นเกิดขึ้นได้โดยการทำงานของอวัยวะดังกล่าว
3. รังสีซึ่งสามารถไปกระตุ้นอวัยวะเกี่ยวกับการเห็น (รังสีซึ่งสามารถมองเห็นได้)
การแผ่รังสีคลื่นยาว
Long - wave radiation
การแผ่รังสีที่มีความยาวคลื่นมากกว่า 4 ไมครอน (micron)
ความสว่าง
Luminance (brightness)
ในวิชาวัดแสง (photometry) เป็นการวัดความเข้มของการส่องสว่าง (luminous intensity) ที่แท้จริง ซึ่งส่งจากต้นกำเนิดหนึ่งในทิศทางที่กำหนด หรืออาจนิยามได้ว่าคือการส่องสว่างหรือความสว่าง (illuminance) ที่ส่องจากต้นกำเนิดไปยังพื้นที่หนึ่งหน่วยที่หันตั้งได้ฉากกับแนวสายตา (line of sight) ในระยะใดระยะหนึ่งจากต้นกำเนิด หารด้วยมุมโซลิดซึ่งพื้นที่นั้นรองรับอยู่ (พื้นที่ ๆรองรับมุมโวลิด) โดยสมมติว่ามัชฌิมที่อยู่ระหว่างต้นกำเนิดแสงและพื้นที่รับแสงนั้นโปร่งแสงโดยสมบูรณ์ ในเรื่องของแสงทางวิชาอุตุนิยมวิทยาและทฤษฎีเกี่ยวกับทัศนวิสัยของอากาศ (visibility theory) จะเกี่ยวกับความสว่างของท้องฟ้า ซึ่งในกรณีนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถหาพื้นที่ตั้งได้ฉากกับแนวสายตา (line of sight) ได้ ดังนั้น ในกรณีที่สำคัญมากเช่นนี้จะต้องแบ่งท้องฟ้า ออกเป็นส่วนเล็ก ๆ และพิจารณาความสว่างของแต่ละส่วน
ปริมาณการส่องสว่าง
Luminous flux
ปริมาณการแผ่รังสีซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า วัดได้โดยพิจารณาอาการตอบรับ ของตามนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามความยาวคลื่นของรังสี หน่วยขั้นมูลฐานของปริมาณส่องสว่างคือ ลูเมน (lumen) หรือหมายถึง ปริมาณและคุณสมบัติของปริมาณการแผ่รังสี (radiation flux) ซึ่งวัดได้ด้วยความสามารถที่ก่อให้เกิดความรู้สึกในการรับความสว่าง (luminous sensation)
ความเข้มของการส่องสว่าง (ในทิศทางใดทางหนึ่ง)
Luminous intensity
ผลลัพธ์ที่ได้จากปริมาณการส่องสว่าง ( (luminous flux) จากต้นกำเนิดหนึ่งหรือจากต้นกำเนิดเดิม (element of a source) ที่ส่องสว่างในทิศทางที่กำหนดในแบบของรูปกรวยเล็ก ๆ ต่อหนึ่งหน่วยมุมโซลิด (solid angle) ของลำกรวยนั้น ใช้หน่วยในการวัดเป็นแรงเทียน (candles)
การแผ่รังสีสุทธิของดวงอาทิตย์
Net solar radiation
การแผ่รังสีสุทธิของดวงอาทิตย์
รังสีสมดุลย์ของดวงอาทิตย์
Balance of solar radiation
ผลต่างระหว่างรังสีจากดวงอาทิตย์ซึ่งส่งลงมาและขึ้นไปโดยตรง ซึ่งก็คือปริมาณรังสีสุทธิ (net flux) ของรังสีจากดวงอาทิตย์
การแผ่รังสีสุทธิของโลก
Net terrestrial radiation
การแผ่รังสีสุทธิของโลก
รังสีสมดุลย์ของโลก
Terrestrial radiation balance
ผลต่างของรังสีของโลกระหว่างรังสีที่แผ่ลงมายังพื้นโลกและแผ่ขึ้นไป ซึ่งก็คือปริมาณสุทธิ (net flux) ของการแผ่รังสีของโลก
แสงเรืองฟ้าในเวลากลางคืน หรือการแผ่รังสีของท้องฟ้าในเวลากลางคืน
Night glow - Night sky radiation
แสงสว่างเรื่อ ๆ นอกเหนือไปจากแสงจันทร์และแสงดาวมองเห็นบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน ดู Airglow
ปริมาณพลังงานการแผ่รังสี
Quantity of radiant energy
ปริมาณพลังงานการแผ่รังสี
ปริมารของการแผ่รังสี
Quantity of radiation
ปริมาณพลังงานที่ถูกถ่ายเท (transferred) โดยการแผ่รังสี
ปริมาณของการส่องสว่าง
Quantity of illumination
ผลคูณของการส่องสว่าง (illumination) กับช่วงเวลาหรือความยาวนานของการส่องสว่างนั้น
การแผ่รังสี
Radiation
1. การที่พลังงานถูกส่ง (emission) หรือถ่ายเท (transfer) ออกไปในรูปของแม่เหล็กไฟฟ้า หรือในรูปของการส่งอนุภาค
2. ตัวพลังงานเองเรียกว่า "พลังงานจากการแผ่รังสี" (radiant energy)
ข้อสังเกต ถ้าเป็นศัพท์ภาษาฝรั่งเศษคำว่า "radiation" มีความหมายจำกัดหมายถึงการแผ่รังสีออกมาเพียงคลื่นเดียว (monochromatic radiation)
พลังงานจากการแผ่รังสี
Radiant energy
พลังงานจากการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในแบบใดก็ได้ ดู Radiation
ความเข้มของการแผ่รังสีต่อหนึ่งหน่วยเนื้อที่ (ที่จุดหนึ่งจุดใดบนพื้นที่ผิวพื้นในทิศทางที่กำหนด)
Radiance - Radiant intensity per unit area
ปริมาณความเข้มของการแผ่รังสี (radiant intensity) จากต้นกำเนิดรังสี (radiator) ซึ่งตกลงบนส่วนเล็ก ๆ ของพื้นที่ผิวพื้น ซึ่งมีจุดที่ต้องการพิจารณาอยู่ในทิศทางที่กำหนดต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่ตั้งได้ฉากกับทิศทางของรังสีนั้น
รังสีสะท้อนของรังสีดวงอาทิตย์
Reflected solar radiation
รังสีสะท้อนของรังสีดวงอาทิตย์
รังสีสะท้อนของรังสีของโลก
Reflected global radiation
รังสีดวงอาทิตย์ที่ถูกส่งกลับขึ้นไปโดยตรงโดยการสะท้อน (reflect) และขจาย (scattered) จากผิวพื้นโลกและจากบรรยากาศ
รังสีสะท้อนของรังสีโลก
Reflected terrestrial radiation
รังสีโลกที่แผ่กลับขึ้นไปโดยการสะท้อน (reflect) และการขจาย (scattered) จากผิวพื้นโลกและจากบรรยากาศ
การเลือกดูดกลืน
Selective absorption
ปรากฏการณ์ที่บรรยากาศ เลือกดุดกลืนเฉพาะส่วนหนึ่งของสเปคตรัมของรังสีตก (incident radiation) แต่การเลือกดูดกลืนนั้นผันแปรไปตามโครงสร้าง (structure) และความหนาแน่น (density) ของโมเลกุล และยังผันแปรไปตามความยาวคลื่นของรังสีที่แผ่ออกมาด้วย
โซเดียมสเปคตรัม
Sodium spectrum
บรรยากาศของโลกมีธาตุโซเดียมเป็นองค์ประกอบอยู่อย่างหนึ่ง แต่มีปริมาณไม่มากนัก อยู่ในรูปแบบของอะตอมเรียกว่า "atmospheric sodium" ธาตุโซเดียมจะแผ่รังสีออกสู่บรรยากาศแบบของ sodium - D line (หรือโซเดียมสเปคตรัม) ในบรรยากาศชั้นสูงซึ่งจะเห็นเป็นแนวเส้นติดต่อกันในเวลากลางคืนและอยู่ในบรรยากาศชั้นสูง ดังนั้นจึงตรวจพบสเปคตรัมของมันได้ในท้องฟ้า เวลากลางคืนและยามสนธยา (twilight)
ค่าคงที่ของดวงอาทิตย์
Solar constant
ปริมาณรังสีดวงอาทิตย์ที่ได้รับนอกชั้นบรรยากาศโลก บนพื้นที่ตั้งฉากกับรังสีตกกระทบ ที่ระยะห่างเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ถึงโลก มีค่าประมาณ 1,368 W m−2ปริมาณรังสีดวงอาทิตย์ที่ได้รับนอกชั้นบรรยากาศโลก บนพื้นที่ตั้งฉากกับรังสีตกกระทบ ที่ระยะห่างเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ถึงโลก มีค่าประมาณ 1,368 W m−2
การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์
Solar radiation
รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยออกจากดวงอาทิตย์
รังสีภายนอกขอบเขตของโลก
Extra - terrestrial radiation
โดยทั่วไปหมายถึงรังสีดวงอาทิตย์ (solar radiation) ที่ได้รับตรงยอดสุดของ (on top of) บรรยากาศหรือสุดขอบเขตของบรรยากาศของโลก
สัมประสิทธของการส่องผ่าน
Transmission coefficient
จำนวนรังสีที่วัดได้หลังจากส่องผ่านมัชฌิมที่หนา 1 หน่วย หรือส่วนหนึ่งของรังสีจากดวงอาทิตย์ ซึ่งตกลงตั้งได้ฉากกับยอดสุดของบรรยากาศแล้วผ่านบรรยากาศลงมายังผิวพื้นโลก
แฟคเตอร์ของความมืดมัว
Tubidity factor (linke)
อัตราส่วนระหว่างสัมประสิทธิของการลดความสว่าง (extinction coefficient) ของบรรยากาศที่แท้จริง กับสัมประสิทธิของการลดความสว่างของโมเลกุลของอากาศบริสุทธิ์และแห้ง
สเปคตรัมยามสนธยา
Twilight spectrum
สเปคตรัมของรังสีที่ส่งออกมาเป็นกลุ่มของแนวเส้น เกิดเนื่องจากอะตอมของธาตุโซเดียม (Na) โซเดียม 2 (Na2) และอ๊อกซิเจน (O2) เป็นต้น ซึ่งปรากกให้เห็นเมื่อแสงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว
การแผ่รังสีสู่อวกาศ (รังสีรวม)
Upward (total) radiation
การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์และรังสีของโลก (terrestrial radiation) ขึ้นสู่อวกาศโดยตรง
การแผ่รังสีของบรรยากาศสู่อวกาศ
Upward atmospheric radiation
การแผ่รังสีของโลก (terrestrial radiation) ขึ้นสู่เบื้องบนโดยบรรยากาศ
การแผ่รังสีของโลกขึ้นสู่เบื้องบน
Upward terrestrial radiation
การแผ่รังสีของโลกขึ้นสู่เบื้องบนโดยตรง
การกระเจิง, การกระจาย
scattering
กระบวนการที่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า กระตุ้นวัตถุให้แผ่รังสีออกมา ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติ การสะท้อน (reflection) การหักเห ( refraction) และการเบี่ยงเบน (diffraction ) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
การดูดรังสี
absorption
กระบวนการที่รังสีตกกระทบถูกดูดเก็บไว้ในสสาร
รังสีรวมจากดวงอาทิตย์
global radiation, total solar radiation
รังสีรวมจากดวงอาทิตย์ -global radiation, total solar radiation
รังสีกระจายจากดวงอาทิตย์
diffuse solar radiation, diffuse sky radiation, sky radiation
รังสีดวงอาทิตย์ที่กระเจิง(scatter) ก่อนถึงพื้นโลก
รังสีจากโลก
terrestrial radiation
รังสีคลื่นยาวที่เกิดจากการคายความร้อน โดยแผ่ออกจากพื้นโลกและชั้นบรรยากาศ
รังสีสุทธิ
net radiation
ค่าสุทธิระหว่างรังสีที่พื้นโลกดูดไว้และปล่อยออกไป
รังสีคลื่นสั้น
shortwave radiation
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่น 0.4 - 1 ไมครอน (ประกอบด้วย อุลตราไวโอเลต, แสงสว่าง,อินฟราเรด) ซึ่งใช้เฉพาะสำหรับการจำแนกช่วงคลื่นที่แผ่จากดวงอาทิตย์มาถึงโลก
รังสีคลื่นยาว
longwave radiation
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นเกิน 4 ไมครอน (อินฟราเรด) ซึ่งใช้เฉพาะสำหรับการจำแนกช่วงคลื่นที่โลกปล่อยออกไป
อัตราส่วนการสะท้อนของพื้นผิว
albedo
ค่าอัตราส่วนระหว่างปริมาณรังสีสะท้อนกับปริมาณรังสีตกกระทบ ซึ่งแปรผันตามลักษณะพื้นผิว
อุลตราไวโอเลต
ultraviolet
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวช่วงคลื่นระหว่าง 5 - 400 นาโนเมตร แบ่งย่อยออกเป็น UV-A, UV-B, และ UV-C
แสงสว่าง
visible spectrum
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ไวต่อการมองเห็นของมนุษย์(ความยาวช่วงคลื่นประมาณ 400-700 นาโนเมตร)
อินฟราเรด
infrared
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวช่วงคลื่นระหว่าง 720 นาโนเมตร - 1 มิลลิเมตร ปล่อยออกมาจากทั้ง ดวงอาทิตย์ (ความยาวคลื่นส่วนใหญ่สั้นกว่า 4 ไมครอน) และโลก (ความยาวคลื่นส่วนใหญ่ยาวกว่า 4 ไมครอน
กระบวนการสังเคราะห์แสง
photosynthesis
กระบวนการที่เซลที่มีคลอโรฟีล เปลี่ยนแสงสว่างที่ตกกระทบให้เป็นพลังงานเคมี และสังเคราะห์ สารอนินทรีย์ให้เป็นสารอินทรีย์
โฟโตพีเรียดดิสซึม
photoperiodism
การตอบสนองของสิ่งมีชีวิตต่อช่วงความยาวนานของแสงแดดและความมืด
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
greenhouse effect
ความร้อนที่เกิดขึ้น เมื่อชั้นบรรยากาศที่มีก๊าซบางชนิด(เช่น ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์) ดูดรังสีอินฟราเรดไว้ แล้วแผ่กลับสู่พื้นโลก
รูรั่วโอโซน
ozone hole
ลักษณะที่มีการลดลงอย่างมากของโอโซนในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ เกิดในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เหนือบริเวณคาบสมุทรแอนตาร์กติก
ช่วงสนธยา(ช่วงแสงเงิน แสงทอง)
twilight
ช่วงเวลาหลังดวงอาทิตย์ตกหรือก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เมื่อเห็นแสงสว่างทั่วท้องฟ้าหรือเป็นบางส่วน เนื่องจากแสงแดดกระเจิงจากเมฆหรือท้องฟ้าโปร่ง