Link Copied
การพยากรณ์อากาศ+
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอลโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
การพยากรณ์อากาศ+
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอลโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
กำเนิดนักอุตุนิยมวิทยา
นักอุตุนิยมวิทยาคนแรกคือใคร . . . คงไม่มีผู้ใดสามารถระบุหรือให้คำตอบได้ เพราะอุตุนิยมวิทยาเป็นเรื่องเกี่ยวกับอากาศ และการคาดหมายลักษณะอากาศก็เป็นสิ่งจำเป็นต่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายมาเป็นเวลานาน ดังเช่นหมีกริสลี ที่กินลูกเบอรรี่มากขึ้น เพราะสัญชาตญาณของมันบอกให้รู้ว่า ลักษณะอากาศในฤดูหนาวจะรุนแรง เป็นต้น การดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ของสิ่งมีชีวิตมีการพัฒนามาตลอด สำหรับมนุษย์ได้เริ่มมีการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะอากาศ และการเปลี่ยนแปลงของลมในแต่ละฤดู เช่น ลมมรสุม ซึ่งจำเป็นสำหรับการค้าขาย และการดำรงชีวิตในสมัยก่อน จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ความเจริญในยุคแรก ๆ ได้กล่าวถึงเรื่องของอากาศ และภูมิอากาศไว้มากมาย เช่น อารยธรรมโบราณของเมโสโปเตเมีย จีน อินเดีย และอียิปต์ ก็มีบันทึก เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย จนกระทั่ง พ.ศ. 2197 ได้เริ่มมีเครือข่ายระหว่างประเทศ ด้านอุตุนิยมวิทยาเป็นครั้งแรก โดยเฟอร์ดินันที่ 2 (Ferdinand II) แห่งมณฑลทัสคานี (Tuscany) ประเทศอิตาลี ประกอบด้วยสถานีอุตุนิยมวิทยา 11 สถานี โดยอยู่ในประเทศอิตาลี 7 สถานี และในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี โปแลนด์ และสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศละ 1 สถานี
ปลายทศวรรษที่ 1600 ได้เริ่มมีการพยากรณ์อากาศโดยใช้ข้อมูลสถิติภูมิอากาศเป็นครั้งแรก แต่ไม่ค่อยมีความถูกต้อง เนื่องจากไม่ได้ใช้ข้อมูลใหม่ ที่เป็นปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2323 ได้มีการสร้างเครือข่ายอุตุนิยมวิทยาขึ้นอีกครั้ง ประกอบด้วย สถานีอุตุนิยมวิทยา 39 สถานี โดยอยู่ในอเมริกาเหนือ 2 สถานี อีก 37 สถานีที่เหลืออยู่ในยุโรป
พ.ศ. 2396 ได้เริ่มมีการประชุมระหว่างประเทศทางด้านอุตุนิยมวิทยาเป็นครั้งแรกที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม และอีก 20 ปีต่อมาได้มีการประชุมสภาอุตุนิยมวิทยาระหว่างประเทศ (International Meteorological Congress) ครั้งแรกที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย การประชุมสภาครั้งนี้ได้มีการก่อตั้งองค์การอุตุนิยมวิทยาระหว่างประเทศขึ้น (International Meteorological Organization หรือ IMO) ซึ่งปัจจุบันได้กลายมาเป็นองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization หรือ WMO)
ระยะแรกข้อมูลเกี่ยวกับอากาศมีความสำคัญต่อการค้าขาย จึงทำให้มีการประชุมระหว่างประเทศเกิดขึ้น ซึ่งเริ่มแรกเน้นความ สำคัญที่มาตรฐานข้อมูลทางทะเล ในการประชุมครั้งแรกที่กรุงบรัสเซลส์ เมื่อ พ.ศ. 2396 ผู้มีส่วนรับผิดชอบที่สำคัญ คือ ร้อยโท แมทธิว ฟอนเทน มอรี (Lt. Matthew Fontaine Maury) แห่งราชนาวีสหรัฐ ซึ่งผลจากการประชุม ทำให้มีสมุดรายงานของเรือ ที่เป็นมาตรฐาน มีชุดคู่มือมาตรฐานสำหรับการตรวจทางอุตุนิยมวิทยาทะเล และมีระบบเก็บรวบรวมสมุดรายงาน สำหรับการประชุมสภา เมื่อ พ.ศ. 2416 ได้เพิ่มขอบข่ายกิจกรรมด้านอุตุนิยมวิทยามากขึ้น และกำหนดให้ศาสตร์สาขานี้เป็นวิชาเฉพาะด้านอุตุนิยมวิทยา การประชุมระหว่าง ประเทศทั้ง 2 ครั้ง สิ่งที่สำคัญมากกว่าสิ่งอื่นใด คือ การยอมรับถึงความจำเป็น และยอมตกลงก่อตั้ง องค์กรระหว่างประเทศขึ้นอย่างถาวร เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ด้านอุตุนิยมวิทยาจะดำเนินต่อไป และเพื่อให้แน่ใจว่าทุกประเทศจะได้รับ ประโยชน์จากความก้าวหน้าและการพัฒนาที่เกิดขึ้น
การค้าและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาด้านอุตุนิยมวิทยา เมื่อ พ.ศ. 2392 ได้มีการนำวิธีการ ส่งสัญญาณทางไกลหรือสัญญาณโทรเลขที่คิดค้นขึ้นโดย แซมมวล มอร์ส (Samuel Morse) ในทศวรรษ 1830 มาประยุกต์ใช้ เพื่อส่งรายงานลักษณะอากาศเป็นครั้งแรก ซึ่งนับเป็นก้าวแรกที่สำคัญของการพัฒนาด้านอุตุนิยมวิทยา เพราะถ้าไม่มีการสื่อสาร ข้อมูลที่รวดเร็ว การพยากรณ์อากาศที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็จะไม่มีทางเป็นไปได้ จะเห็นได้ว่าสิ่งจำเป็นก็คือ ข้อมูลที่ได้จากพื้นที่ต่าง ๆ หลายแห่ง รวมทั้งการดัดแปลงรายงานลักษณะอากาศ ให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพราะรายงานที่เป็นรหัสมอร์สเข้าใจได้ยาก สำหรับคนทั่วไป
วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2418 หนังสือพิมพ์ลอนดอนไทมส์ได้เริ่มลงพิมพ์แผนที่อากาศ และตีพิมพ์สม่ำเสมอเป็นเวลา 85 ปี ก่อนสหรัฐอเมริกายิงดาวเทียมดวงแรก (ดาวเทียม TIROS-1) ขึ้นสู่วงโคจร
จากกิจกรรมการวิจัยภายใต้การนำของ ศาสตราจารย์ วิลเฮล์ม เบิร์กเนส (Prof. Wilhelm Bjerknes พ.ศ. 2405 - 2494) นักวิทยาศาสตร์ชาวนอรเว ได้มีวิธีการศึกษาลักษณะอากาศแนวใหม่เกี่ยวกับมวลอากาศและการวิเคราะห์แนวปะทะอากาศ สำหรับการตรวจอากาศชั้นบนได้มีการพัฒนาเครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (radiosonde) ขึ้นในประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2470 ต่อมา พี เอ มอลท์คานอฟ (P.A. Moltchanoff) แห่งประเทศรัสเซียได้พัฒนาเครื่องส่งวิทยุได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2473
คอมพิวเตอร์และดาวเทียมทำให้อุตุนิยมวิทยาเริ่มเข้ามาสู่มิติใหม่ แต่การวางรากฐานเกี่ยวกับเรื่องวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่งมาเริ่ม ตอนปลายศตวรรษที่ 19 เมื่อเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาจนประสบความสำเร็จ และสามารถช่วยสนับสนุนการจัดประเภท และการสำรวจการเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ ในปัจจุบันมีการใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ช่วยในการคาดหมายลักษณะอากาศเชิงตัวเลข แต่พื้นฐานของการพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลขได้ริเริ่มมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 โดย ลูอิส ฟราย ริชาร์ดสัน (Lewis Fry Richardson) หลังจากที่ใช้เวลาในการวิจัยหลายปี (รวมทั้งการทดลองที่ไม่ประสบผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2453) เขาได้จัดพิมพ์หนังสือชื่อ "การคาดหมายลักษณะอากาศโดยขบวนการเชิงตัวเลข" (Weather Prediction by Numerical Process) ซึ่งเป็นพื้นฐานของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในยุคต่อ ๆ มา
จากประวัติความเป็นมาจะเห็นได้ว่าอุตุนิยมวิทยาค่อย ๆ วิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ จนไม่สามารถที่จะระบุได้ว่านักอุตุนิยมวิทยา เกิดขึ้นอย่างจริงจังในยุคใดสมัยใด และบุคคลใดเป็นนักอุตุนิยมวิทยาคนแรกของโลกก็ระบุไม่ได้
หมายเหตุ : แปลและเรียบเรียงจาก "The Origin of the Meteorologist" , WMO 50 Years of Service, WMO-No. 912