Link Copied
การพยากรณ์อากาศ+
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอลโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
การพยากรณ์อากาศ+
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอลโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
รูปแบบทางเดินพายุที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยส่วนใหญ่เคลื่อนมาจากด้านตะวันออกของประเทศ โดยมีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้แล้วเคลื่อนตัวมา ในแนวทิศตะวันตกขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามผ่านลาว หรือกัมพูชาเข้าสู่ประเทศไทย โดยผ่านเข้ามาทางจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณแนวพรมแดนด้านตะวันออก ส่วนพายุที่มีแหล่งกำนิดในอ่าวเบงกอล หรือทะเลอันดามันแล้วเคลื่อนตัวมาในแนวทิศตะวันออกผ่านพม่าเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันตก มีเพียงส่วนน้อยซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในเดือนพฤษภาคม จะเห็นได้ว่าพายุที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในแต่ละเดือน นั้นมีความแตกต่างกันทั้งแหล่งกำเนิดและการเคลื่อนตัว
จากความแตกต่างดังกล่าวเมื่อพิจารณาสถิติเส้นทางเดินพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในรอบ 48 ปี ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 164 ลูก สามารถนำมาวิเคราะห์และกำหนดรูปแบบเส้นทางเดินพายุในแต่ละเดือน โดยพิจารณาจากเส้นทางเดินของพายุส่วนใหญ่เพื่อให้สามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ได้โดยง่าย และสะดวกกว่าการพิจารณาจากรายละเอียดของข้อมูลทั้งหมด ซึ่งในแต่ละเดือนได้กำหนดแนวเส้นทางเดินพายุไว้ 2 รูปแบบ โดยรูปแบบที่ 1 เป็นรูปแบบหลักซึ่งพายุส่วนใหญ่มีโอกาสเคลื่อนตัวตามรูปแบบนี้มากกว่า ส่วนรูปแบบที่ 2 เป็นรูปแบบรองซึ่งพายุมีโอกาสเคลื่อนตัวตามรูปแบบนี้น้อยกว่ารูปแบบที่ 1 ซึ่งปรากฏผลดังนี้
(รูป) รูปแบบทางเดินพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทย เดือนพฤษภาคม
พายุที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยส่วนใหญ่มีแหล่งกำเนิดในอ่าวเบงกอล หรือทะเลอันดามันแล้วเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศพม่าก่อนเข้าสู่ ประเทศไทยทางด้านตะวันตก ส่วนพายุที่มีแหล่งกำเนิดในทะเลจีนใต้อาจเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออกได้ โดยเคลื่อนผ่านประเทศเวียดนามและลาวเข้ามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคเหนือหรืออาจเคลื่อนผ่านเข้ามาทางอ่าวไทยโดยตรงแล้วเข้าสู่บริเวณชายฝั่งภาคตะวันออก แต่มีโอกาสน้อย
(รูป) รูปแบบทางเดินพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทย เดือนมิถุนายน
รูปแบบหลักมีแหล่งกำเนิดในทะเลจีนใต้เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ผ่านลาวเข้าสู่ประเทศไทยทางตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ส่วนรูปแบบรองมีแหล่งกำเนิดในทะเลจีนใต้ใกล้ฝั่งประเทศเวียดนามตอนล่าง เแล้วเคลื่อนผ่านประเทศกัมพูชาเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณพื้นที่ติดต่อ ระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างกับภาคตะวันออก
(รูป) รูปแบบทางเดินพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทย เดือนกรกฎาคม
รูปแบบหลักมีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ ทะเลจีนใต้ ประเทศเวียดนามตอนบนและลาวผ่านเข้ามาใกล้ประเทศไทยทางเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้วเข้าสู่ภาคเหนือ หรืออาจเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนก่อนเข้าสู่ภาคเหนือ ส่วนรูปแบบรองมีแหล่งกำเนิดในทะเลจีนใต้ตอนล่างคลื่อนผ่านประเทศเวียดนามตอนล่าง และกัมพูชาเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างต่อกับภาคตะวันออก
(รูป) รูปแบบทางเดินพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทย เดือนสิงหาคม
รูปแบบหลักมีแหล่งกำเนิดในทะเลจีนใต้ตอนบนเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ผ่านลาวเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคเหนือของประเทศไทย ส่วนรูปแบบรองมีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ตอนบนทะเลจีนใต้ เกาะไหหลำอ่าวตังเกี๋ยประเทศเวียดนามตอนบนและลาวผ่านเข้ามาทางตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่ภาคเหนือ
(รูป) รูปแบบทางเดินพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทย เดือนกันยายน(ครึ่งเดือนแรก)
(รูป) รูปแบบทางเดินพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทย เดือนกันยายน(ครึ่งเดือนหลัง)
รูปแบบหลักในระยะครึ่งแรกของเดือนมีแหล่งกำเนิดในทะเลจีนใต้ตอนบนเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามผ่านลาว เข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคเหนือของประเทศไทย ส่วนรูปแบบรองมีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ ทะเลจีนใต้ เกาะไหหลำ อ่าวตังเกี๋ย ประเทศเวียดนามตอนบน และลาวเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคเหนือตอนบน ส่วนครึ่งหลังของเดือนรูปแบบหลักมีแหล่งกำเนิดในทะเลจีนใต้ตอนกลาง เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามผ่านลาวเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง แล้วจึงเข้าสู่ภาคกลาง ส่วนรูปแบบรองมีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ ทะเลจีนใต้ประเทศเวียดนาม และลาวเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศไทย
(รูป) รูปแบบทางเดินพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทย เดือนตุลาคม(ครึ่งเดือนแรก)
(รูป) รูปแบบทางเดินพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทย เดือนตุลาคม(ครึ่งเดือนหลัง)
เป็นเดือนที่พายุมีโอกาสเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยได้ ตั้งแต่ภาคเหนือลงไปจนถึงภาคใต้ในระยะครึ่งแรกของเดือน รูปแบบหลักมีแหล่งกำเนิดในทะเลจีนใต้ตอนกลาง เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนล่างผ่านประเทศกัมพูชาเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคตะวันออก แล้วจึงเข้าสู่ภาคกลางตอนล่าง รูปแบบรองมีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ตอนบน ทะเลจีนใต้ ประเทศเวียดนาม และลาวเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคเหนือ ส่วนในระยะครึ่งหลังของเดือนรูปแบบหลักมีแหล่งกำเนิดในทะเลจีนใต้ตอนล่างเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวน และอ่าวไทยขึ้นฝั่งประเทศไทยบริเวณภาคใต้ตอนบน รูปแบบรองมีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ ทะเลจีนใต้ ประเทศเวียดนาม และลาวตอนล่างหรือกัมพูชาเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
(รูป) รูปแบบทางเดินพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทย เดือนพฤศจิกายน(ครึ่งเดือนแรก)
(รูป) รูปแบบทางเดินพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทย เดือนพฤศจิกายน(ครึ่งเดือนหลัง)
รูปแบบหลักในระยะครึ่งแรกของเดือนมีแหล่งกำเนิดในทะเลจีนใต้ตอนล่างเคลื่อนเข้าสู่อ่าวไทย และขึ้นฝั่งประเทศไทยได้ ตั้งแต่ภาคใต้ตอนบนจนถึงภาคใต้ตอนกลาง รูปแบบรองมีเส้นทางเดินคล้ายคลึงกับช่วงครึ่งหลังของเดือนตุลาคม คือมีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ ทะเลจีนใต้ ประเทศเวียดนามและลาวตอนล่างหรือกัมพูชาเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ส่วนครึ่งหลังของเดือนพายุมีโอกาสเคลื่อนขึ้นฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยได้ตั้งแต่บริเวณตอนกลางของภาคลงไป โดยรูปแบบหลักมีแหล่งกำเนิดในทะเลจีนใต้ตอนล่างเคลื่อนเข้าสู่อ่าวไทยแล้วจึงขึ้นฝั่ง รูปแบบรองมีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ ทะเลจีนใต้ ประเทศเวียดนามตอนล่างเข้าสู่อ่าวไทยแล้วจึงขึ้นฝั่ง
(รูป) รูปแบบทางเดินพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทย เดือนธันวาคม
รูปแบบหลักมีแหล่งกำเนิดในทะเลจีนใต้ตอนล่างเคลื่อนผ่านอ่าวไทย และขึ้นฝั่งประเทศไทยที่บริเวณภาคใต้ตอนล่าง ส่วนรูปแบบรองมีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ ทะเลจีนใต้ และปลายแหลมญวนเข้าสู่อ่าวไทยแล้วขึ้นฝั่งประเทศไทยบริเวณภาคใต้ตอนกลาง