Link Copied
การพยากรณ์อากาศ+
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอลโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
การพยากรณ์อากาศ+
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอลโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงโอโซน
การสูญเสียโอโซนรุนแรงสุดเหนือทวีปแอนตาร์กติกที่หนาวเย็น เพราะอากาศเย็นจัดที่ไหลเวียนรอบๆ ขั้วโลกในชั้นสตราโตสเฟียร์ จะป้องกันไม่ให้เกิดการแลกเปลี่ยนมวลอากาศ กับเขตละติจูดกลาง ทำให้อุณหภูมิต่ำถึง -80 องศาเซลเซียส ซึ่งก่อให้เกิดเมฆบนชั้นสตราโตสเฟียร์เหนือบริเวณขั้วโลก (Polar Stratospheric Cloud) ด้วยอนุภาคน้ำแข็ง ปกติโบรมีน และคลอรีนค่อนข้างอยู่ในสถานะคงที่ เช่นสารประกอบคลอรีนไนเตรต (ClONO2)
ในเดือนตุลาคม ค.ศ.1987 ความเข้มข้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกต่ำกว่าระดับปกติ (ปี 1957-1978) กว่าครึ่งหนึ่ง และรูรั่วโอโซนที่เกิดขึ้นมีบริเวณเทียบเท่ากับทวีปยุโรป จากนั้นมาแนวโน้มลดลงรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยที่
- ค่าโอโซนต่ำสุดที่ผ่านมาวัดได้ น้อยกว่า 100 หน่วย มิลลิบรรยากาศเซนติเมตร หรือ ลดลงร้อยละ 70 เป็นเวลาหลายวัน
- รูรั่วโอโซนคิดเป็นพื้นที่ ถึง 24 ล้านตารางกิโลเมตร
- โอโซนที่ลดลงตลอดฤดูใบไม้ผลิ มากกว่าร้อยละ 40
การสูญเสียโอโซนรุนแรงมากในชั้นสตราโตสเฟียร์ตอนล่าง ระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม เหนือทวีปแอนตาร์กติก ที่ความสูงระหว่าง 13-20 กิโลเมตร ดังรูปที่ 8 เมื่อชั้นบรรยากาศเย็นจัด และเปลี่ยนแปลงไปหลายเท่าของค่าที่วัดได้ในฤดูร้อน ดังรูปที่ 9
แสดงให้เห็นการถูกทำลายโดยสมบูรณ์ในชั้นสตราโตสเฟียร์ เทียบกับค่าเฉลี่ยระหว่างปี 1957-1980
รูปที่ 9 การเปลี่ยนแปลงโอโซนตามฤดูกาลจากช่วงก่อนเกิดรูรั่วโอโซน (ปี 1957-1978)เหนือทวีปแอนตาร์กติก วัดจากสถานีในขั้วโลกใต้ (ฟาราเดย์ (Faraday) ไซโยวา (Syowa) และอ่าวฮัลเลย์ (Halley Bay)
รูรั่วโอโซนเกิดเฉพาะเหนือบริเวณทวีปแอนตาร์กติกเพราะว่ามีสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยให้เกิดปฏิกิริยาทำลายโอโซน เนื่องจากแสงแดดในฤดูใบไม้ผลิ เช่นดังรูป 10 แสดงรูรั่วโอโซนของวันที่ 17 ตุลาคม 1994
รูปที่ 10 รูรั่วโอโซนของวันที่ 17 ตุลาคม 1994
ปี ค.ศ.1988 มีการตรวจเพิ่มขึ้นหลายชนิดในแถบขั้วโลกเหนือ เช่น จากเครื่องบิน บอลลูน และดาวเทียมทั้งจากภาคพื้นดิน ให้ผลว่าชั้นสตราโตสเฟียร์เหนือทวีปอาร์คติกในฤดูหนาวถึงใบไม้ผลิมีสารเคมี เช่นคลอรีน และโบรมีน เป็นปริมาณสูงเช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามทวีปอาร์กติกก็ไม่ได้รุนแรงเท่าทวีปแอนตาร์ก-ติก ด้วยเหตุผลคืออุณหภูมิบนสตราโตสเฟียร์ ไม่ค่อยต่ำกว่า - 80 องศา เซลเซียส เนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนมวลอากาศกับละติจูดกลางบ่อยกว่า และวงอากาศหมุนเวียนมักจะกระจายหายไปในฤดูหนาวตอนปลาย ก่อนที่แสงอาทิตย์จะเป็นเหตุให้เกิดการทำลายโอโซน จากรายงานขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ปี ค.ศ. 1988 ได้ข้อเท็จจริงว่า
- ระดับโอโซนลดลงหลายหลายเปอร์เซ็นต์ระหว่าง 17 ปีที่ผ่านมา ในระหว่างฤดูหนาวถึงใบไม้ผลิเหนือละติจูดกลางและขั้วโลก
- ขบวนการธรรมชาติไม่สามารถอธิบายสาเหตุที่ ทำให้ทำให้โอโซนลดลงได้ทั้งหมด แต่สาเหตุที่เด่นชัดคือสารประกอบฮาโลคาร์บอนที่สังเคราะห์ขึ้น
จากรายงานการประเมินโอโซนในปี ค.ศ. 1991 พบค่าโอโซนต่ำลงในฤดูร้อนด้วย และเมื่อผู้คนอยู่กลางแจ้งจะได้รับแสงอัลตราไวโอเลตสูงสุด ในฤดูร้อนเนื่องจากโอโซนสูญเสียไปในเวลาเดียวกัน และในปีหลังๆ พบว่ามีปัญหาสุขภาพมากขึ้น
การลดลงของโอโซนอย่างต่อเนื่องทุกปีนับจากปี ค.ศ. 1970 ทั่วโลกยกเว้นเขตศูนย์สูตร ซึ่งได้จากการตรวจวัดโดยระบบตรวจวัดโอโซนทั่วโลก (GO3OS) รวมทั้งข้อมูลดาวเทียม แสดงให้เห็นว่าโอโซนลดลงเหนือละติจูดกลาง และขั้วโลก ประมาณ ร้อยละ 10 (ได้พิจารณาความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติจากทั้งสองซีกโลกด้วยแล้ว) นับความรุนแรงในฤดูหนาวถึงใบไม้ผลิเป็นร้อยละ 6-7 ต่อ 10 ปี และเปลี่ยนไปประมาณร้อยละ 3-3.5 ในฤดูร้อนถึงใบไม้ร่วง การศึกษาอย่างละเอียดแสดงความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนประมาณ ร้อยละ 1.5-2 ในช่วง ปี 1981-1991 (เทียบกับปี 1970-1980) การแสดงแนวโน้มเชิงตัวเลขเหนือละติจูดกลาง และซีกโลกเหนือทั้งหมดและซีกโลกใต้แสดงดังตาราง
ในเดือนตุลาคม ค.ศ.1987 ความเข้มข้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกต่ำกว่าระดับปกติ (ปี 1957-1978) กว่าครึ่งหนึ่ง และรูรั่วโอโซนที่เกิดขึ้นมีบริเวณเทียบเท่ากับทวีปยุโรป จากนั้นมาแนวโน้มลดลงรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยที่
- ค่าโอโซนต่ำสุดที่ผ่านมาวัดได้ น้อยกว่า 100 หน่วย มิลลิบรรยากาศเซนติเมตร หรือ ลดลงร้อยละ 70 เป็นเวลาหลายวัน
- รูรั่วโอโซนคิดเป็นพื้นที่ ถึง 24 ล้านตารางกิโลเมตร
- โอโซนที่ลดลงตลอดฤดูใบไม้ผลิ มากกว่าร้อยละ 40
การสูญเสียโอโซนรุนแรงมากในชั้นสตราโตสเฟียร์ตอนล่าง ระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม เหนือทวีปแอนตาร์กติก ที่ความสูงระหว่าง 13-20 กิโลเมตร ดังรูปที่ 8 เมื่อชั้นบรรยากาศเย็นจัด และเปลี่ยนแปลงไปหลายเท่าของค่าที่วัดได้ในฤดูร้อน ดังรูปที่ 9
รูปที่ 8โอโซนตามความสูงที่ สถานีไซโยวา (Syowa) ละติจูด 69 องศาใต้ ในเดือนตุลาคม 1992 แสดงให้เห็นการถูกทำลายโดยสมบูรณ์ในชั้นสตราโตสเฟียร์ เทียบกับค่าเฉลี่ยระหว่างปี 1957-1980
รูปที่ 9 การเปลี่ยนแปลงโอโซนตามฤดูกาลจากช่วงก่อนเกิดรูรั่วโอโซน (ปี 1957-1978) เหนือทวีปแอนตาร์กติก วัดจากสถานีในขั้วโลกใต้ (ฟาราเดย์ (Faraday) ไซโยวา (Syowa) และอ่าวฮัลเลย์ (Halley Bay)
รูรั่วโอโซนเกิดเฉพาะเหนือบริเวณทวีปแอนตาร์กติก เพราะว่ามีสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยให้เกิดปฏิกิริยาทำลายโอโซน เนื่องจากแสงแดดในฤดูใบไม้ผลิ เช่นดังรูป 10 แสดงรูรั่วโอโซนของวันที่ 17 ตุลาคม 1994