Link Copied
ทัศนวิสัย
ทัศนวิสัย
Visibility
ระยะทางไกลที่สุดในทิศทางที่กำหนดไว้ ซึ่งผู้ตรวจสามารถมองเห็นวัตถุที่มีขนาดพอสมควรได้ด้วยตาเปล่าและบอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นอะไร โดยวัดค่าทัศนวิสัยออกมาเป็นระยะทาง มีหน่วยเป็นเมตร กิโลเมตร และไมล์
ทัศนวิสัยตามแนวนอน
Horizontal visibility
ระยะไกลที่สุดที่ผู้ตรวจสามารถมองเห็นและทราบชัดว่าวัตถุที่อยู่ในแนวนอนระดับเดียวกับผู้ตรวจนั้นเป็นวัตถุอะไร
พิสัยการมองเห็น (ในทางอุตุนิยมวิทยา)
Visual range (meteorological)
ระยะทาง (ในเวลากลางวัน) ที่ตาเปล่าสามารถมองเห็นวัตถุและแยกวัตถุนั้นออกจากภาพเบื้องหลัง (background) ได้ คือมีค่าเปรียบเทียบ (contrast) ระหว่างวัตถุกับภาพเบื้องหลัง เท่ากับค่าเปรียบเทียบของขีดเริ่มต้นหรือขีดตัดสินในการเปรียบเทียบ (contrast threshold)
พิสัยของแสงในทางอุตุนิยมวิทยา
Meteorological Optical Range (M.O.R.)
ความยาวของระยะทางในบรรยากาศที่วัดได้ เมื่อต้องการที่จะลดความสว่างของลำแสงที่ส่งจากดวงไฟส่องสว่างจนถึง 0.05 เท่าของค่าเดิม (ดู contrast threshold)
การเปรียบเทียบความสว่าง
Contrast of luminace
อัตราส่วนระหว่างผลต่าง่ของความสว่างของวัตถุกับความสว่างของภาพเบื้องหลังววัตถุ (background) ต่อความสว่างของภาพเบื้องหลังวัตถุ
ขีดเริ่มต้นในการเปรียบเทียบ
Contrast threshold
คือค่าเปรียบเทียบของความสว่าง (contrast of luminance) น้อยที่สุดที่ทำให้ตาเปล่าสามารถมองเห็นวตถุเป้าหมายโดยแยกวัตถุนั้นจากภาพเบื้องหลังได้ภายใต้สภาวะของความสว่างที่พอเหมาะของวัตถุ (adaptation luminance) และมุมของการมองเห็น (visual angle - มุมที่ภาพวัตถุทำกับตาเรา) ที่เจาะจงลงไป
ค่าของ contrast threshold นี้เปลี่ยนแปลงไปแล้วแต่ผู้ตรวจและสภาพทิวทัศน์โดยปกติจะใช้ค่าประมาณ 0.02 สำหรับผู้ตรวจที่เป็นปกติธรรมดา (ในเวลากลาวัน) แต่จากผลการทดลองมีค่าอยู่ระหว่าง 0.01 ถึง 0.06 ในทางอุตุนิยมวิทยาให้ใช้ค่า 0.05 จุดประสงค์ของการที่ต้องใช้ค่านี้ก็เพื่อที่จะเปลี่ยนการวัดการลดความสว่าง (attenuation measurements) ใช่เป็นค่าของทัศนวิสัย
สัมประสิทธิของการลดความสว่าง
Extinction coefficient
คือการวัดอัตราการลดความสว่างของแสงสว่างใด ๆ ที่ส่องเป็นลำขนานกันมา การที่ลำแสงลดความสว่างลงเป็นเพราะลำแสงที่ส่องผ่านมัชณิมถูกดูดกลืน (absorption) และกระจายออกไป (scattering) ดังนั้น การหาสัมประสิทธิของการลดความสว่างของแสงจึงต้องรวมเอาผลของการดูดกลืน (absorption) และการกระจายออก (scattering) ของแสงที่มองเห็นด้วยตาเปล่า (visible light) เข้าไปด้วย
แสงจากอากาศ
Air light
แสงสว่างซึ่งส่องมาจากดวงอาทิตย์และท้องฟ้าแล้วถูกกระจายแสงโดยอนุภาคในบรรยากาศและโมเลกุลของอากาศทางด้านหน้าและเข้าสู่ตาของผู้ตรวจ (หรือเข้าสู่เครื่องมือ) ภายในส่วน (รูปทรงกรวย) ที่ตาสามารถมองเห็นได้ (observer's cone of vision) ซึ่งก็คล้ายกับการแผ่รังสี่จากท้องฟ้า โดยการกระจัดกระจาย (diffuse sky radiation) ลงมาสู่พื้นโลก
ทัศนวัสัยนอกเกณฑ์
Exceptional visibility
ทัศนวิสัยของวัตถุที่สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลมาก
ทัศนวิสัยในแนวยืน
Vertical visibility
ระยะทางไกลที่สุดในแนวยืนที่ผู้ตรวจสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ในแนวเดียวกับผู้ตรวจโดยอยู่เหนือหรือต่ำกว่าผู้ตรวจด้วยตาเปล่า และบอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นอะไร ระยะทางที่ใช้วัดทัศนวิสัยในแนวยืนนี้ใช้เป็นเพดานความสูง (ceiling height)
ทัศนวิสัยในแนวเฉียง
Obique visibility - Slant visibility
ระยะทางไกลที่สุดที่ผู้ตรวจสามารถมองเห็นวัตถุด้วยตาเปล่าและบอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นอะไร โดยที่วัตถุนั้นไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกับผู้ตรวจคืออยู่ในแนวเฉียง
พิสัยการมองเห็นทางวิ่งสนามบิน
Runway visual range RVR
ความสามารถของนักบินที่จะมองจากห้องนักบิน(cockpit) ออกไปข้างหน้าตามเส้นกลางของทางวิ่ง (center line) ว่ามองเห็นได้ชัดระยะไกลเท่าไร ขณะที่เครื่องบินแตะพื้นทางวิ่งที่จุดแตะพื้น(touch down point)
ทัศนวิสัยทางอุตุนิยมวิทยา
Meteorological Visibility
เป็นค่าทัศนวิสัยทั่วๆไป ที่ใช้ในการตรวจอากาศผิวพื้น โดยตรวจดูทัศนวิสัยรอบๆขอบฟ้า (รอบตัวเรา) ค่าทัศนวิสัยที่ได้เป็นค่าเฉลี่ยในทุกทิศทาง
ทัศนวิสัยทางการบิน
Main meteorological visibility
เป็นค่าทัศนวิสัยในทิศทางที่สำคัญ เช่น บริเวณทางวิ่ง ส่วนมากตรวจวัดแบบครึ่งวงกลม โดยใช้ค่าต่ำสุด