Link Copied
การพยากรณ์อากาศ+
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอลโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
การพยากรณ์อากาศ+
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอลโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
ประวัติความเป็นมาของโอโซน
พ.ศ.2382 (1839) ค้นพบโอโซน โดย C.F. Schonbein คำว่า " โอโซน" เป็นภาษากรีก แปลว่า " กลิ่น" เพราะโอโซนมีกลิ่นฉุนเมื่อความเข้มข้นมาก
พ.ศ.2403 (1860) เริ่มมีการตรวจวัดโอโซนผิวพื้นกว่าร้อยสถานี
พ.ศ.2423 (1880) พบว่าโอโซนในบรรยากาศเหนือขึ้นไปดูดกลืนรังสีดวงอาทิตย์ช่วง 200-300 นาโนเมตร โดยฮาร์ตเลย์(Hartley)
พ.ศ.2456 (1913) โดยการตรวจวัดรังสีอัลตราไวโอเลตได้พิสูจน์ว่าโอโซนส่วนใหญ่อยู่ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ที่ 19-23 กิโลเมตรจากพื้นโลก
พ.ศ.2463 (1920) มีการตรวจวัดปริมาณโอโซนในบรรยากาศ หรือโอโซนรวมครั้งแรก โดยนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย ออกซ์ฟอร์ด
พ.ศ.2469(1926)มีการตรวจวัดปริมาณโอโซนในบรรยากาศด้วยเครื่องด็อบสันสเปคโตรโฟโตมิเตอร์(Dobson Spectrophotometer)6เครื่องทั่วโลก เครื่องมือออกแบบโดย Gordon Miller Bourne Dobson ประเทศอังกฤษ
พ.ศ.2472 (1929) มีการตรวจวัดแบบอัมเคอร์ (Umkehr) เพื่อหาการกระจายตัวตามแนวดิ่งของโอโซนที่ชั้นต่ำกว่า 25 กม.
พ.ศ.2473 (1930) มีทฤษฎีโฟโตเคมีคัลของการเกิดและสลายตัวของโอโซนที่เกิดจากออกซิเจนบริสุทธิ์
พ.ศ.2477 (1934) จากการตรวจโอโซนซอนด์บนบอลลูนแสดงให้เห็นว่าโอโซนปรากฏอยู่มากที่สุดที่ความสูงประมาณ 20 กม.
พ.ศ.2498 (1955) มีการก่อตั้งเครือข่ายสถานีตรวจโอโซนทั่วโลก
พ.ศ.2500 (1957) องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ก่อตั้ง และดูแลการตรวจอย่างเป็นระบบ ที่เรียกว่า GO3Os (Global Ozone Observing System)
พ.ศ.2508 (1965) มีทฤษฎีโฟโตเคมีคัลที่เสนอว่าการสลายตัวของโอโซนเกิดจากองค์อนุมูลของไฮดรอกซิล (HOx)
พ.ศ.2509 (1966) มีการตรวจวัดโอโซนโดยดาวเทียมครั้งแรก
พ.ศ.2514 (1971) มีการเสนอกลไกการสลายตัวของโอโซนที่เกิดจากออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx )
พ.ศ.2517 (1974) มีการพิจารณาว่าการสลายตัวของโอโซนเกิดจากกลุ่มแอคทีฟคลอรีน (ClOx)
พ.ศ.2517 (1974) พบว่าสารสังเคราะห์ซีเอฟซี เป็นที่มาของคลอรีนในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์
พ.ศ. 2518 (1975) WMO เริ่มมีการประเมินสถานการณ์โอโซนครั้งแรก พ.ศ.2520 (1977) WMO ร่วมกับ UNEP มีแผนปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันชั้นโอโซน
พ.ศ.2524-2541 (1981-98) WMO ร่วมกับ UNEP และสถาบันวิจัยอื่นๆ ออกหนังสือประเมินสถานการณ์โอโซน "Scientific Assessments of The Ozone Layer" ปี ค.ศ. 1981 1985 1988 1991 1994 และ 1998
พ.ศ.2527 (1984) รายงานฉบับแรกที่เสนอต่อ Ozone Commission Symposium ที่ Halkidiki ว่าโอโซนมีค่าต่ำกว่าปกติ (ประมาณ 200 มิลลิ บรรยากาศ เซนติเมตร) ที่สถานีไซโยวา (Syowa) ในทวีปแอนตาร์กติก เดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2525
พ.ศ.2528 (1985) เกิดอนุสัญญาเวียนนา (Vienna Convention) เพื่อพิทักษ์ชั้นโอโซน และรายงานเกี่ยวกับช่องโหว่โอโซนตั้งแต่ทศวรรษ 1980s ซึ่งตีพิมพ์โดย British Antarctic Survey และ WMO มีรายงาน "Atmospheric Ozone 1985 " WMO No. 16
พ.ศ.2529 (1986) บทวิเคราะห์ของ Montsouris (ปารีส) เกี่ยวกับโอโซนผิวพื้นในปัจจุบันได้เพิ่มเป็น 2 เท่าของร้อยปีก่อนคือ ปี พ.ศ. 2416-2453 (1873-1910)
พ.ศ.2530 (1987) เกิดพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) ว่าด้วยการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน รวมทั้งการประเมินสถานการณ์โอโซนซึ่งริเริ่มโดยคณะทำงานแนวโน้มโอโซนระหว่างประเทศ
พ.ศ.2531 (1988) โอโซนลดลงอย่างต่อเนื่องประมาณ 10 % ต่อสิบปี โดยองค์การนาซ่าได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ที่ความสูงชั้น สตราโตสเฟียร์ตอนล่าง พบคลอรีนและโบรมีนที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นสาเหตุของช่องโหว่โอโซน และ WMO มีรายงาน "International Ozone Trends Panel Report 1988 " WMO No. 18
พ.ศ.2532 (1989) WMO มีรายงาน "Scientific Assessment of Stratospheric Ozone 1989 " WMO No. 20
พ.ศ.2533 (1990) มีการแก้ไขพิธีสารมอนทรีออล ณ กรุงลอนดอน (London Amendment) โดยประกาศห้ามผลิตและใช้สาร CFC ภายในปี ค.ศ. 2000
พ.ศ.2534 (1991) WMO ร่วมกับ UNEP ออกรายงานประเมินสถานการณ์โอโซน "WMO/UNEP Ozone Assessment -1991" โดยเน้นว่าโอโซนกำลังลดลงไม่เพียงแต่ในฤดูหนาว-ใบไม้ผลิเท่านั้น แต่เกิดขึ้นตลอดปีในเขตต่างๆ ยกเว้นเหนือเขตร้อน และคลอรีนโมโนออกไซด์ (ClO) ที่พบมากเหนือทวีปอาร์กติคเป็นเครื่องชี้ความรุนแรงของวิกฤติการณ์โอโซน
พ.ศ.2535 (1992) มีการแก้ไขพิธีสารมอนทรีออล ณ กรุงโคเปนฮาเกน ( Copenhagen Amendment) ได้ขยายความในพิธีสารมอนทรีออลให้มีการหยุดใช้สาร CFCs ภายในปี 1995 และเพิ่มการควบคุมสารประกอบอื่นๆ และ UNEP มีรายงานเรื่อง " Methyl Bromide: Its Atmospheric Science, Technology and Economics (Assessment Supplement) "
พ.ศ. 2535-37 (1992-94) วัดค่าโอโซนต่ำสุดได้ประมาณ 100 มิลลิ บรรยากาศ เซนติเมตร ระหว่างฤดูใบไม้ผลิเหนือทวีปแอนตาร์กติคและคลุมบริเวณกว้างถึง 24 ล้านตารางกิโลเมตร ขณะเดียวกันพบว่ามีคลอรีนและโบรมีนที่ชั้นสตราโตสเฟียร์เพิ่มขึ้น WMO และ UNEP ออกรายงานประเมินสถานการณ์โอโซนฉบับที่ 7 " Scientific Assessment of Ozone Depletion: 1994" WMO No. 37
พ.ศ.2538 (1995) ค่าโอโซนที่วัดได้ต่ำกว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในระยะยาวถึง 25 % วัดได้ที่เขตไซบีเรียและพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปยุโรปในเดือนมกราคมถึงเดือน มีนาคม
พ.ศ.2539 (1996) กองทุนพหุภาคีช่วยเหลือทางด้านเทคนิคในอุตสาหกรรมการยกเลิกผลิตและใช้สาร CFCs ในงบประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ
พ.ศ.2540 (1997) การแก้ไขพิธีสารมอนทรีออล ณ กรุงมอนทรีออล (Montreal Amendment) ได้เพิ่มเติมให้มีการหยุดใช้ เมธิลโบรไมด์ (CH3Br)
พ.ศ.2541 (1998) WMO/ UNEP มีรายงานประเมินสถานการณ์โอโซนฉบับที่ 8 " Scientific Assessment of Ozone Depletion: 1998" WMO No. 44
พ.ศ.2542 (1999) มีการแก้ไขพิธีสารมอนทรีออล ณ กรุงปักกิ่ง (Beijing Amendment) โดยได้เพิ่มการควบคุมสารโบรโมคลอโร มีเทน และไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน