Link Copied
ลม
วิชาการวัดลม
Anemometry
วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาการวัดทิศทาง และความเร็วลมรวมทั้งการวัดทิศทางในแนวยืน (vertical component) ด้วย
ลม
Wind
หมายถึงอากาศที่เคลื่อนที่ไปบนผิวโลกตามแนวนอนในทุกทิศทุกทางและด้วยความเร็วต่าง ๆ กัน ทิศทางของลมทราบได้จากทิศซึ่งลมพัดเข้าหาตัว
ความเร็วลม
Wind speed
คือ ระยะทางที่มวลอากาศเคลื่อนที่ไป ในหนึ่งหน่วยเวลา
เวลเตอร์ลม หรือ อัตราความเร็วลม
Wind vector - wind velocity
คือ เวคเตอร์ลมที่สร้างขึ้นให้ตั้งฉากกับลาดของความกดอากาศเพื่อใช้แทนทั้งกำลังและทิศทาง โดยใช้หน่วยของระยะทางเป็นปฏิภาคกับความเร็วลม
กำลังลม หรือ แรงลม
Wind force
หมายถึง ก. จำนวนเลขบนมาตราส่วน หรือ เสกลโบฟอร์ต (Beaufort scale) ที่เพิ่มขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากการกระทำของลมที่มีความเร็วลมอยู่ในช่วงหนึ่ง ข. แรงลมที่กระทำ หรือปะทะกับวัตถุ หรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
ทิศทางลม
Wind direction
หมายถึงทิศซึ่งลมพัดเข้า
ลมเวียนซ้าย
Backing wind
คือการที่ลมพัดเปลี่ยนทิศไปในทางทวนเข็มนาฬิกา (counter clockwise) ในทั้งสองซีกโลก
ลมเวียนขวา
Veering wind
คือการที่ลมพัดเปลี่ยนทิศไปในทางตามเข็มนาฬิกา (clockwise) ในทั้งสองซีกโลก
ลมแปรปรวน
Variable wind
ลมซึ่งเปลี่ยนทิศทางบ่อย ๆ ไม่แน่นอน
ความเอียงของลม
Inclination of the wind
มุมที่เกิดขึ้นจากทิศทางที่ลมพัดกระทำกับทิศทางของลมเกรเดียนท์ (gradient wind) หมายถึงลมที่พัดขนานกับ เส้นความกดอากาศเท่า หรือ เส้นไอโซบาร์) ณ บริเวณที่ระบุไว้
ลมที่วัดได้จริง
True wind
เป็นเวคเตอร์ของลม (wind vector) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับผิวพื้นโลก สำหรับวัตถุ หรือมวลอากาศที่กำลังเคลื่อนที่นั้นลมที่วัดได้จริงจะเป็นผลรวมทางเวคเตอร์ (ผลรวมทั้งทิศทาง และความเร็วลม) ของลมที่ปรากฏขึ้น (apparent wind) กับความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่ (มวลอากาศ)
ลมสัมพัทธ์ หรือลมที่ปรากฏ
Relative wind - apparent wind
สำหรับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เวคเตอร์ของลมจะสัมพันธ์กับความเร็วของวัตถุนั้น ดังนั้น ความเร็วของลมที่ปรากฏ หรือลมสัมพัทธ์จะเป็นผลต่างทางเวคเตอร์ระหว่างความเร็วลมที่วัดได้จริง (true wind) กับความเร็วของวัตถุนั้น
ลมยีโอสโทรฟิค
Geostrophic wind
ลมซึ่งพัดขนานกับเส้นความกดอากาศเท่า (isobar) หรือเส้นความสูงเท่า (contours) ซึ่งเป็นเส้นตรง ลมดังกล่าวนี้เป็นลมตามทฤษฎี (theoretical wind) อยู่ภายใต้สมดุลย์ของแรงสองแรงที่เกิดจากการผลักดันของอากาศจากความกดอากาศสูงไปหาความกดอากาศต่ำในแนวนอน (horizontal pressure force) หรือ pressure gradient force กับแรงที่เกิดจากการหมุนของโลก ทำให้ทิศทางของการเคลื่อนที่ของอากาศเฉไปทางขวา เรียกว่า "แรงเฉ" (coriolis force) โดยถือว่ามีแรงเพียงสองแรงนี้เท่านั้นที่กระทำต่อลม (ในอากาศและไม่มีความฝืดของพื้นพิภพเข้ามาเกี่ยวข้อง)
ลมอะยีโอสโทรฟิค
Ageostrophic wind - ageostrophic wind component
ลมซึ่งเป็นผลต่างทางเวคเตอร์ระหว่างลมที่แท้จริง (actual wind) กับลม ยีโอสโทรฟิค
ลมซับยีโอสโทรฟิค
Subgeostrophic wind
ลมซึ่งมีความเร็วน้อยกว่าลมยีโอสโทรฟิคที่สัมพันธ์กัน
ลมซูเพอร์ยีโอสโทรฟิค
Supergeostrophic wind
ลมซึ่งมีความเร็วมากกว่าลมยีโอสโทรฟิคที่สัมพันธ์กัน
ลมเกรเดียนท์
Gradient wind
ลมที่ขนานกับเส้นความกดอากาศเท่า (isobars) หรือเส้นความสูงเท่า (contour) ซึ่งเป็นเส้นโค้ง ลมดังกล่าวนี้เป็นลมตามทฤษฎีอยู่ภายใต้สมดุลย์ของแรงสามแรงที่เกิดจากการผลักดันของอากาศจากความกดอากาศสูงไปหาความกดอากาศต่ำในแนวนอน (horizontal pressure force) กับแรงที่เกิดจากการหมุนของโลก ทำให้ทิศทางของการเคลื่อนที่ของอากาศเฉไปทางขวาเรียกว่า "แรงเฉ" (coriolis force) และแรงหนีศูนย์กลาง (centrifugal force) ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนที่ของมวลอากาศเป็นแนวโค้ง โดยถือว่ามีแรงดังกล่าวเหล่านี้เท่านั้นที่กระทำต่อลม (ในอากาศ)
ลมซับเกรเดียนท์
Subgradient wind
ลมซึ่งมีความเร็วลมน้อยกว่าลมเกรเดียนท์ที่สัมพันธ์กัน และลมนี้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นลมซับยีโอสโทรฟิค
ลมซูเพอร์เกรเดียนท์
Supergradient wind
ลมซึ่งมีความเร็วลมมากกว่าลมเกรเดียนท์ที่สัมพันธ์กัน และลมนี้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นลมซูเพอร์ยีโอสโทรฟิค
ลมต้านเกรเดียนท์
Countergradient wind
ลมซึ่งมีทิศทางตรงกันข้ามกับแนวของความชันหรือลาดของความกดอากาศ (pressure gradient - อัตราการลดความกดอากาศในบรรยากาศ ณ เวลาที่กำหนดไว้) ตามแนวนอน ซึ่งเกิดขึ้นจากความชันหรือเกรเดียนท์ (gradient) ของความกดอากาศในแนวนอน
ลมไซโคลสโทรฟิค
Cyclostrophic wind
ลมตามทฤษฎีอยู่ภายใต้สมดุลย์ของแรงสองแรงที่เกิดจากการผลักดันของอากาศจากความกดอากาศสูงไปหาความกดอากาศต่ำในแนวนอน (horizontal pressure force) กับแรงหนีศูนย์กลาง (centrifugal force) ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนที่ของมวลอากาศเป็นแนวโค้ง โดยถือว่ามีแรงดังกล่าวเท่านั้นที่กระทำต่อลม (ในอากาศ)
ลมยูเลเรี่ยน
Eulerian wind
ลมตามทฤษฎีซึ่งมีอัตราเร่งเกี่ยวเนื่องกับแรงแห่งความกดตามแนวนอน หรือ แรงที่เกิดจากการผลักดันของอากาศจากความกดอากาศสูงไปหาความกดอากาศต่ำในแนวนอน (horizontal pressure force) ซึ่งถือว่าเป็นแรงเดียวเท่านั้นที่กระทำกับลม (ในอากาศ)
ลมแอนติทริปติค
Antitriptic wind
ลมตามทฤษฎีอยู่ภายใต้สมดุลย์กับแรงสองแรงที่เกิดจากการผลักดันของอากาศจากความกดอากาศสูงไปหาความกดอากาศต่ำในแนวนอน (horizontal pressure force) กับแรงเสียดทานหรือแรงแห่งความฝืด (frictional force) โดยถือว่ามีแรงดังกล่าวเหล่านี้เท่านั้นที่กระทำต่อลม (ในอากาศ)
ลมเทอร์มัล หรือลมความร้อน
Thermal wind
คือลมซึ่งพัดขนานกับเส้นอุณหภูมิเท่า โดยมีอากาศเย็นอยู่ทางซ้าย (ตามลม) ในซีกโลกเหนือ และจะอยู่ทางขวาในซีกโลกใต้ ลมนี้เกี่ยวเนื่องกับชั้นของบรรยากาศ โดยเป็นผลต่างของเวคเตอร์ระหว่างลมยีโอสโทรฟิคสองระดับ คือ ระดับบน กับระดับล่างของชั้นบรรยากาศ เช่น ลมระหว่างลมยีโอสโทรฟิคที่ระดับความกด 700 มิลลิบาร์ กับระดับความกด 500 มิลลิบาร์
ลมอัลโลบาริค หรือ ลมไอแซลโลบาริค
Allobaric wind - Isallobaric wind
องค์ประกอบตามทฤษฎีของลม (ความเร็วลม) ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศที่ไม่สม่ำเสมอของท้องถิ่นตามระยะเวลา
ลมหัว หรือ ลมต้าน
Head wind
ลมซึ่งพัดในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยมีการหมุนของโลกเข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย
ลมส่งท้าย หรือ ลมส่ง
Tail wind
ลมซึ่งพัดในทิศทางเดียวกันกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยมีการหมุนของโลกเข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย
ลมลองจิจูด หรือลมตามเส้นลองจิจูด
Longitudinal wind
เป็นชื่อเรียกรวมของลมหัว (head wind) หรือลมส่งท้าย (tail wind)
ลมขวาง
Cross wind
ลมซึ่งพัดในทิศทางตั้งได้ฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยมีการหมุนของโลกเข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย
เสมือนลมลองจิจูด หรือเสมือนลมตามเส้นลองจิจูด
Equivalent longitudinal wind
ลมซึ่งสมมติขึ้นในการเดินทางทางอากาศ เป็นลมที่พัดสม่ำเสมอและขนานกับเส้นทางลมทุกแห่ง ลมนี้สมมติให้มีความเร็วลมเฉลี่ยเท่ากับความเร็วเฉลี่ยของเครื่องบินโดยสัมพันธ์กับการหมุนของโลกเช่นเดียวกับลมที่แท้จริง ถ้าหากลมที่สมมติขึ้นนี้มีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของเครื่องบินเรียกว่า "เสมือนลมหัว หรือลมต้าน" (equivalent head wind) และถ้าลมดังกล่าวมีทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของเครื่องบินเรียกว่า "เสมือนลมส่งท้าย หรือลมส่ง" (equivalent tail wind)
เสมือนลมหัว หรือเสมือนลมส่งท้าย
Equivalent head or tail wind
ดู Equivalent longitudinal wind
การปั่นป่วนของอากาศ
Turbulence
การเคลื่อนที่ของกาศที่ซับซ้อน หรืออาการปั่นป่วนอันเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของอากาศซึ่งมีทิศทางไม่แน่นอน และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ชั้นที่มีลมราบเรียบ
Laminar boundary layer
ชั้นของอากาศต่อจากขอบเขตที่กำหนดไว้ ซึ่งในชั้นนี้ความเค้นเนื่องจากการดึงดูดกันอย่างเหนียวแน่นของโมเลกุล (molecule viscous stress) มีมากเพราะความชันของความเร็ว (velocity gradient) ซึ่งมีทิศทางตั้งฉากกับขอบเขตของชั้นนั้นมีค่ามาก สรุปก็คือชั้นของอากาศที่มีการเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอ
ชั้นที่มีลมปั่นป่วน
Turbulent boundary layer
ชั้นของอากาศซึ่งมีการหมุนวนหรือการปั่นป่วนเกิดขึ้น โดยเป็นชั้นที่อยู่ติดกับชั้นที่มีการเคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอ หรือชั้นที่มีลมราบเรียบ (laminar boundary layer)
การไหลปั่นป่วน
Turbulent flow
การไหล หรือเคลื่อนที่ของอากาศที่มีลักษณะปั่นป่วน
การไหลอย่างสม่ำเสมอ
Laminar flow
การไหล หรือการเคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอของอากาศไปตามทิศทางของลม ซึ่งการไหลนั้นจะจัดตัวเป็นชั้น ๆ หรือเป็นผืนขนานกันไป เป็นคำตรงกันข้ามกับการไหลปั่นป่วน
การไหลระหว่างการเปลี่ยน
Transitional flow
การไหล หรือการเคลื่อนที่ของอากาศในช่วงที่อยู่ระหว่างการไหลอย่างสม่ำเสมอ (laminar flow) กับการไหลอย่างปั่นป่วน (turbulent flow) หรือกำลังเปลี่ยนจากการไหลอย่างสม่ำเสมอไปสู่การไหลอย่างปั่นป่วน หรือกลับกัน
เวคเตอร์ของลมกระโชก
Gust vector
เวคเตอร์ของลมซึ่งพัดกระโชกในระยะเวลาอันสั้น (กระโชกแรงเป็นครั้งคราว ในช่วงเวลาอันสั้นที่กำหนดให้ คือไม่เกิน 20 วินาที) และเป็นลมที่พัดแรงกว่าค่าปานกลาง (mean value)
ลมกระโชก
Gust
ลมแรงที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดชั่วขณะผิดไปจากความเร็วลมเฉลี่ยในเวลานั้น ระยะเวลาที่เกิดลมกระโชกโดยปกติมักจะต่ำกว่า 20 วินาที เมื่อลมกระโชกหมดไปแล้วความเร็วลมจะลดลงกลายเป็นลมอ่อน โดยทั่วไปลมกระโชกมักเกิดขึ้นบ่อยในแถบที่มีพื้นที่ขรุขระมีสิ่งกีดขวาง เช่น ใกล้ตึก หรือสิ่งก่อสร้างสูง ๆ แต่อาจจะเกิดในแถบบริเวณพื้นน้ำอันกว้างใหญ่ได้บ้างแต่ไม่บ่อยครั้งนัก ลมกระโชกอาจหมายถึงความเร็วลมที่มีทิศแน่ชัดแต่กำลังลมอาจจะเพิ่มขึ้น หรือลดลงจากค่าปานกลางในช่วงเวลาจำกัดที่กำหนดให้
กราฟลมกระโชก
p = gust peak speed
tg= gust kuration
m = gust magnitude
n = gust frequency
a = gust amplitude
t f= gust formation time
t d= gust decay time
l m= maximum gust lapse
t m= maximum gust lapse interval
t l= maximum gust lapse time
ค่าลมกระโชกสูงสุด
Gust amplitude (a)
ค่าสูงสุด (ความเร็วลม) ของลมกระโชกซึ่งได้จากค่าลมกระโชกย่อย ๆ ที่พัดมา
ความเร็วสูงสุดของลมกระโชก
Gust peak speed (p)
ความเร็วลมที่วัดได้ทันทีทันใดในขณะที่มีค่าลมกระโชกสูงสุด (gust amplitude)
ช่วงเวลาที่เกิดลมกระโชก
Gust formation time (t f)
ช่วงระยะตั้งแต่เวลาที่เริ่มเกิดลมกระโชกจนกระทั่งถึงเวลาที่มีค่าลมกระโชกสูงสุด (gust amplitude)
ช่วงเวลาสลายตัวของลมกระโชก
Gust decay time (t d)
ช่วงระยะตั้งแต่เวลาที่มีค่าลมกระโชกสูงสุด (gust amplitude) จนกระทั่งถึงเวลาสิ้นของลมกระโชก
ความยาวนานของลมกระโชก
Gust duraiton (t g)
ช่วงระยะตั้งแต่เวลาที่เริ่มเกิดจนกระทั่งถึงเวลาสิ้นสุดลมกระโชก
ค่าแตกต่างของลมกระโชกสูงสุด
Maximum gust lapse (l m)
ค่าสูงสุดของผลต่างระหว่างค่าความเร็วสูงสุดของลมกระโชก (gust peak speed) ที่มีค่าเป็นบวกกับค่าเป็นลบของความเร็วลมต่ำสุดซึ่งอยู่ถัดไป และค่าของลมกระโชกทั้งสองแบบนี้เกิดอยู่ในช่วงระหว่างค่าแตกต่างของลมกระโชกสูงสุดสองค่า (maximum gust lapse interval)
ช่วงระหว่างค่าแตกต่างของลมกระโชกสูงสุด
Maximum gust lapse interval (t m)
ช่วงระยะเวลาเฉพาะซึ่งนำมาใช้พิจารณาค่าแตกต่างของลมกระโชกสูงสุด (maximum gust lapse)
ระยะเวลาระหว่างค่าแตกต่างของลมกระโชกสูงสุด
Maximum gust lapse time (t l)
ช่วงระยะระหว่างเวลาที่เกิดยอดสูงสุดของความเร็วของลมกระโชกสองยอด ซึ่งนับจากช่วงที่เราเริ่มใช้ค่าแตกต่างของลมกระโชกสูงสุด (maximum gust lapse)
ความถี่ของลมกระโชก
Gust frequency (n)
จำนวนครั้งของลมกระโชกที่มีค่าเป็นบวก (ลมกระโชกแรง) ในช่วงเวลาที่กำหนดให้
ช่วงความถี่ของลมกระโชก
Gust frequency intermal (t n)
ช่วงเวลาเฉพาะที่เราวัดได้จากความถี่ของลมกระโชก (ความถี่จำนวนเท่าใด วัดได้ในเวลาเท่าใด)
องค์ประกอบของการกระโชก หรือ องค์ประกอบของการปั่นป่วน
Gustiness component - Turbulence component
อัตราส่วนระหว่างผลต่างของความเร็วลมสูงสุดกับความเร็วลมต่ำสุดในทิศทางและเวลาที่กำหนด ต่อความเร็วลมเฉลี่ยในแนวราบ (mean horizontal wind speed) ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
แรงเสียดทาน
Friction
แรงต้านทางกลศาสตร์ในตัวกลางใดตัวกลางหนึ่ง หรือในวัตถุใด ๆ ซึ่งจะต้องต้านทานการเคลื่อนที่ของตัวกลาง หรือวัตถุอื่นที่เคลื่อนที่เข้าหาตัวกลางหรือวัตถุแรก
ชั้นบรรยากาศที่มีแรงเสียดทาน
Friction layer หรือ planetary boundary layer
ชั้นของบรรยากาศนับจากผิวพื้นโลกขึ้นไปจนถึงความสูงประมาณ 600 ถึง 800 เมตร ซึ่งการเคลื่อนที่ของอากาศในชั้นนี้จะมีแรงเสียดทานของพื้นผิวโลกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เหนือจากชั้นที่มีแรงเสียดทานนี้ขึ้นไปเป็นชั้นซึ่งอากาศเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ (free atmosphere)
ชั้นผิวพื้น
Surface boundary layer - Ground layer
ชั้นบาง ๆ ของบรรยากาศที่อยู่ติดกับผิวพื้นโลก มีความสูงของชั้นไม่แน่นอน คือ สูงตั้งแต่ 10 เมตร ขึ้นไปจนถึง 100 เมตร
ชั้นบรรยากาศใกล้พื้นโลก
Atmospheric boundary layer
เป็นคำซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว หมายความเช่นเดียวกับชั้นผิวพื้น (surface boundary layer) และในบางครั้งอาจจะหมายความเช่นเดียวกับชั้นที่มีแรงเสียดทาน (planetary boundary layer)
การปั่นป่วนในอากาศแจ่มใส
Clear air turbulence (CAT)
ตามปกติการปั่นป่วนของอากาศ (air turbulence) มักจะเกิดขึ้นเนื่องจากการที่อากาศ หรือลมเคลื่อนที่ไปบนพื้นที่ขรุขระไม่เรียบและยังเกิดขึ้นในบริเวณที่มีเมฆจำพวก คิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) ด้วย แต่การปั่นป่วนของอากาศในขณะอากาศแจ่มใส (clear air turbulence) จะเกิดขึ้นในบรรยากาศทั่วไป (free atmosphere) ซึ่งการปั่นป่วนของกระแสอากาศแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเมฆเลย (โดยไม่มีเมฆก่อตัวอยู่เลย แต่จะมองเห็นเป็นฟ้าหรัวมักปรากฏในตอนบ่าย) และเท่าที่ค้นพบปรากฏว่าส่วนใหญ่จะเกิดในบรรยากาศชั้นสูง ๆ คือ บรรยากาศชั้นทรอโพสเฟียร์ (troposphere) ระดับสูง ๆ และระดับต่ำ ๆ ของบรรยากาศชั้นสแตรโตสเฟียร์ (stratosphere) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดในบริเวณใกล้ ๆ กับกระแสลมกรด (jet stream) ในสภาพที่แท้จริงการปั่นป่วนในอากาศแจ่มใส ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากกระแสอากาศที่มีความเร็วต่างกันมาก ๆ เช่น ในกระแสลมกรด บริเวณตรงกลางของกระแสลมกรด จะมีความเร็วสูงกว่าบริเวณริมนอกของกระแสลมกรดมาก จึงทำให้เกิดการปั่นป่วนหมุนวนได้และในวิชาว่าด้วยการบิน การปั่นป่วนในอากาศแจ่มใสอาจะเกิดขึ้นได้เมื่อเครื่องบินที่มีความเร็วสูง บินผ่านบรรยากาศธรรมดาที่ไม่มีเมฆ และอาจเกิดจากการไหลอย่างผิดปกติของอากาศทั้งในแนวยืนและแนวนอน สภาวะดังกล่าวนี้รวมถึงการไม่สมดุลย์ของการไหลโดยมีลมเทอร์มัล (thermal wind) หรือลมเชียร์ (wind shear) อยู่ด้วย นอกจากนี้แล้วความขรุขระของพื้นที่ เช่น ภูเขา (orographic effect) ก็เป็นตัวการสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการปั่นป่วนในอากาศแจ่มใสได้
การปั่นป่วนในบริเวณพายุฟ้าคะนอง
Thunderstorm turbulence
การปั่นป่วนของกระแสอากาศอย่างรุนแรงซึ่งมักเกิดขึ้นในบริเวณข้างเคียง หรือในบริเวณที่มีเมฆพายุฟ้าคะนอง
การคลุกเคล้าในแนวนอน
Lateral mixing
การคลุกเคล้าถ่ายเทอย่างปั่นป่วนของอากาศในแนวนอน
การคลุกเคล้าในแบบไอเซนโทรฟิค
Isentropic mixing
การคลุกเคล้าถ่ายเทอย่างปั่นป่วนของอากาศที่เกิดในแนวพื้นที่ไอเซนโทรฟิค (isentropic surface) พื้นที่ไอเซนโทรฟิคคือพื้นที่ในบรรยากาศที่มีเอนโทรพี (entropy) เท่ากัน หรือมีอุณหภูมิโพเทนเชียล (potential temperature) เท่ากันตลอด
หลุมอากาศ หรือการกระเพื่อมของอากาศ
Bumpiness
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของการเคลื่อนที่ของอากาศในแนวยืน ทำให้อากาศเกิดอาการกระเพื่อมขึ้นลงในขณะที่เคลื่อนที่ไปตามแนวนอน ซึ่งเป็นเหตุให้เครื่องบินที่กำลังบินอยู่ในอากาศเกิดอาการกระแทกขึ้นลง
การถ่ายเทอย่างปั่นป่วน หรือหมุนวน
Turbulent flux - eddy flux
อัตราการถ่ายเทแลกเปลี่ยนคุณสมบัติของของเหลว หรืออากาศ เช่น ความร้อน ความชื้น เป็นต้น ซึ่งเป็นผลเนื่องจากการหมุนวน หรือการปั่นป่วน
ลมผิวพื้น
Surface wind
ลมที่พัดใกล้ผิวดินในระดับความสูงประมาณ 10 เมตร
เส้นทางลม
Streamline
เส้นที่ลากขนานกับทิศทางลมในการวิเคราะห์แผนที่อากาศ
ทางโคจร
Trajectory
เส้นทางโคจรในแผนที่อากาศ หมายถึง ก. เส้นโค้งซึ่งลากต่อเนื่องทางเดินของอนุภาคของอากาศที่เคลื่อนที่ ขณะใดก็ตามเวคเตอร์ของความเร็วของอนุภาคขณะนั้นจะสัมผัสกับทางโคจร ข. เส้นโค้งซึ่งลากต่อเนื่องทางเดินของจุดศูนย์กลางของระบบอากาศต่าง ๆ เช่น ดีเปรสชั่น (depression) ฯลฯ
กฎของบายส์ แบลลอท
Buys Ballot's law
กฎซึ่งใช้พิจารณาลักษณะของบริเวณความกดอากาศที่มีการกระจาย (distribution) ไปตามแนวนอนโดยใช้ทิศทางของลมเป็นเกณท์ "ในซึกโลกเหนือถ้าผู้ตรวจยืนหันหลังให้ลมที่พัดมา บริเวณความกดอากาศต่ำจะอยู่ทางซ้ายมือ และบริเวณความดากาศสูงจะอยู่ทางขวามือของผู้นั้น ทิศทางดังกล่าวนี้จะกลับตรงกันข้ามเมื่อผู้ตรวจอยู่ในซีกโลกใต้"
กฎของโดฟ
Dove's law
กฎเกี่ยวกับการหมุนของลมรอบศูนย์กลางพายุ (ดีเปรสชั่น) ในระหว่างที่พายุกำลังจะผ่านผู้ตรวจไป โดยพายุนั้นเคลื่อนที่มาจากทิศตะวันตกในบริเวณละติจูดสูง ๆ กฎนี้ดังกล่าวว่าลมจะหมุนไปตามทิศทางของดวงอาทิตย์ นั่นคือหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และจะหมุนในทางตรงกันข้ามในซีกโลกใต้ (จาก International Meteorological Vocabulary) กฎของโดพนี้เป็นกฎของพายุ (law of storms) ที่มีมาแต่โบราณอธิบายไว้ว่า ก. เป็นอาการหมุนของลมในพายุหมุนซึ่งหมุนรอบศูนย์กลางพายุ ข. หมายถึงเส้นทางที่การปั่นป่วนของอากาศทั้งหมาด (entire disturbance) เคลื่อนที่ไปบนพื้นโลก ความรู้ดังกล่าวนี้เป็นข้อแนะนำแก่ชาวเรือในการเดินเรือ เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงให้พ้นจากอันตรายอันอาจเกิดขึ้นจากพายุในทะเล (จาก Glossary of Meteorology; AMS)
การหมุนเข้าหาศูนย์กลาง หรือการหมุนเวียนเป็นเกลียวก้นหอย
Cyclonic rotation
การหมุนของลมเข้าหาศูนย์กลาง ซึ่งเมื่อมองจากข้างบนลงมาจะเห็นการหมุนของลมไปในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือและตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้
การหมุนการหมุนออกจากศูนย์กลาง หรือการหมุนเวียนออกจากเกลียวก้นหอย
Anticylonic rotation
การหมุนของลมออกจากศูนย์กลาง ซึ่งเมื่อมองจากข้างบนลงมาจะเห็นการหมุนของลมไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือและทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้
เส้นทิศลมเท่า
Isogon
เส้นที่ลากผ่านจุต่าง ๆ ที่ลมมีทิศทางเดียวกันในแผนที่อากาศ
เส้นความเร็วลมเท่า
Isanemone หรือ Isotach
เส้นที่มีความเร็วลมเท่ากันในแผนที่อากาศ (isanemone) หรือเส้นที่ลากผ่านจุดต่าง ๆ ที่ลมมีความเร็วเท่ากันในแผนที่อากาศ (isotach)
เส้นลมเปลี่ยน
Surge line
เส้นที่ลากผ่านจุดซึ่งลมเปลี่ยนความเร็วทันทีทันใด
ลมบก หรือลมเฉลี่ยบก (พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
Land breeze
ลมแถบบริเวณชายฝั่งที่พัดออกจากฝั่งสู่ทะเลในเวลากลางคืน เกิดขึ้นเนื่องจากในเวลากลางคืนแผ่นดินเย็นลงมากกว่าพื้นน้ำ ดังนั้น อากาศเหนือพื้นน้ำซึ่งร้อนกว่าจะเบาและลอยตัวสูงขึ้นลมจึงพัดจากแผ่นดินที่เย็นกว่าจากฝั่งไปสู่บริเวณพื้นน้ำที่ร้อนกว่า (เพื่อไม่ให้เสียสมดุลย์ความร้อน) ทำให้เกิดลมบกขึ้น ลมบกนี้โบราณเรียกว่า "ลมล่อง"
ลมทะเล หรือลมเฉลี่ยทะเล
Sea breeze - Lake breeze
ลมแถบบริเวณชายฝั่งที่พัดจากทะเลเข้าสู่ฝั่งในเวลากลางวัน เกิดขึ้นเนื่องจากในเวลากลางวันพื้นดินร้อนกว่าพื้นน้ำ ดังนั้น อากาศเหนือพื้นดินซึ่งร้อนกว่าจะเบาและลอยตัวสูงขึ้น อากาศซึ่งเย็นกว่าจากทะเลจะเคลื่อนเข้ามาแทนที่ (เข้าสู่ฝั่ง) เพื่อไม่ให้เสียสมดุลย์ความร้อนทำให้เกิดลมทะเลขึ้น ลมทะเลนี้โบราณเรียกว่า "ลมขึ้น"
ลมพัดลงลาดเขา หรือลมกราวิทัต
Katabatic wind - Gravity wind
ลมที่ตกลงมาตามความชันของพื้นที่ (ภูเขา) มักเกิดขึ้นในตอนกลางคืนที่ท้องฟ้ากระจ่าง การแผ่รังสีจากพื้นผิวโลกมีมากทำให้พื้นดินเย็นลงโดยเร็ว โดยเฉพาะพื้นดินบริเวณภูเขาหรือที่ราบสูงทำให้อากาศเหนือบริเวณนี้เย็นเร็วกว่าอากาศบริเวณข้างเคียงซึ่งอยู่ในระดับเดียวกัน ดังนั้น อากาศบริเวณหนือภูเขาซึ่งเย็นและมีความแน่นมากกว่าอากาศในบริเวณใกล้ ๆ ภูเขาจึงเคลื่อนตัวไปแทนที่อากาศที่ร้อนกว่าโดยมีความโน้มถ่วง หรือกราวิทัต (gravigy) ของโลกช่วยส่งเสริม (สนับสนุน) ทำให้เกิดเป็นลมตกเขา หรือลมพัดลงลาดเขาขึ้น ลมนี้เป็นลมประจำถิ่น
ลมขึ้นลาดเขา
Anabatic wind
ลมซึ่งมีทิศทางตรงกันข้ามกับลมลงลาดเขา (Katabatic wind) คือในเวลากลางวันที่ท้องฟ้าไม่มีเมฆ อากาศเหนือบริเวณที่สูงชันหรือภูเขาจะได้รับความร้อนมากกว่าอากาศบริเวณข้างเคียงในระดับความสูงเดียวกันเหนือพื้นราบ ดังนั้น อากาศในบริเวณข้างเคียงซึ่งเย็นกว่าจึงเคลื่อนตัวไปแทนที่อากาศเหนือบริเวณที่สูงชัน หรือภูเขา ลมขึ้นลาดเขานี้เป็นลมอ่อนจะเคลื่อนที่ไปได้สูงมากหรือน้อยแล้วแต่ความสูงชันของภูเขา
ลมภูเขา
Mountain breeze
เป็นลมพัดลงลาดเขา (Katabatic wind) ชนิดหนึ่งซึ่งพัดในเวลากลางคืนและในชั่วโมงแรก ๆ หลังจากดวงอาทิตย์ตก พัดลงตามความชันของภูเขาสู่หุบเขาและพื้นที่ราบ
ลมธารน้ำแข็ง หรือลมเฉลี่ยธารน้ำแข็ง
Glacier breeze
ลมที่พัดลงมาจากที่สูงไปตามธารน้ำแข็ง ลมนี้เป็นหนาวจัดไม่สูงนักพัดตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน
ลมหุบเขา
Yalley breeze
เป็นลมขึ้นลากเขา (Anabatic wind) ชนิดหนึ่งซึ่งพัดในเวลากลางวันขึ้นไปตามลาดเขาหรือที่สูงชัน โดยพัดจากหุบเขาขึ้นสู่ยอดเขา
มรสุมฤดูร้อน
Summer monsoon
ลมมรสุมที่มีถิ่นกำเนิดจากมหาสมุทรและพัดเข้าสู่แผ่นดิน เป็นลมที่พัดในฤดูร้อน
มรสุมฤดูหนาว
Winter monsoon
ลมมรสุมที่มีถิ่นกำเนิดจากแผ่นดินใหญ่หรือทวีปพัดลงสู่มหาสมุทรและเป็นลมที่พัดในฤดูหนาว
ฤดูมรสุม
Monsoon season
ระยะเวลาช่วงหนึ่งบนผีนแผ่นดินในขณะที่มีมรสุมฤดูร้อน (summer monsoon) พัดผ่าน
การเคลื่อนที่ของมรสุม
Progression of the monsoon
การเคลื่อนที่ของมวลอากาศซึ่งพัดพามาโดยมรสุมฤดูร้อน (summer monsoon) เข้าสู่บริเวณพื้นที่กว้างใหญ่อย่างช้า ๆ
การเริ่มฤดูมรสุม
Burst of the monsoon
ก. ณ สถานที่กำหนด ทันทีที่มวลอากาศซึ่งถูกพัดพาโดยมรสุมฤดูร้อน(summer monsoon) เคลื่อนเข้าสู่บริเวณนั้น เวลาขณะนั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูมรสุม ข. บางครั้งก็พิจารณาได้จากเวลาขณะที่สภาวะของอากาศรุนแรงเกิดขึ้นทันทีทันใด ประกอบกับถึงฤดูมรสุมฤดูร้อน (summer monsoon) พอดี ณ สถานที่หรือในย่านที่กำหนด
การเปลี่ยนมรสุม
Heversa of monsoon
การเปลี่ยนมรสุมจากมรสุมฤดูหนาว (winter monsoon) เป็นมรสุมฤดูร้อน (summer monsoon) หรือในทางกลับกันจากมรสุมฤดูร้อนเปลี่ยนเป็นมรสุมฤดูหนาว
ลมเปลี่ยนทิศ
Wind shift
ลมที่เปลี่ยนทิศทางโดยกะทันหันจากทิศทางลมที่เป็นอยู่ขณะนั้น
ลมลดความเร็ว หรือลมตก
Wind lull
การที่ลมมีความเร็วลดลงอย่างเห็นได้ชัดชั่วขณะหนึ่ง
วินด์โรส หรือผังลม
Wind rose
เป๋ยแผนผังแสดงลักษณะของลม มีลักษณะคล้ายรูปดาว ใช้เทียบเคียงความถี่(frequency) ของทิศทางลมต่าง ๆ กัน ณ ที่ ๆ ทำกรตรวจในช่วงเวลาที่กำหนด โดยปกติประกอบด้วยเส้นทิศทางตามทิศของเข็มทิศแสดงทิศทางที่ลมพัด (8 ทิศ หรือ 12 ทิศ) ความยาวของเส้นหนึ่ง ๆ ใช้แทนความถี่ของลมที่พัดในทิศทางนั้นเป็นอัตราส่วนร้อยของลม โดยมีเสกลความเร็ว และความถี่เปรียบเทียบ เมื่อดูที่แผนผังนี้แล้วจะรู้ได้ว่าลมส่วนใหญ่พัดมาทางทิศใด ในเดือนใด ในบางครั้งใช้เทียบเคียงความถี่ของกลุ่มความเร็วลมในทิศทางต่าง ๆ กันด้วย
ลมแน่ทิศ หรือทิศทางลมแน่ทิศ
Prevailling wind
ลมซึ่งพัดประจำทิศ หรือหมายถึงลมซึ่งพัดในทิศหนึ่งทิศใดมีความถี่สูงกว่า (พัดบ่อยครั้งกว่า) ลมที่พัดในทิศอื่น ณ บริเวณที่กำหนด เช่น ทิศทางลมแน่ทิศของกรุงเทพมหานครในเดือนมิถุนายน เป็นทิศตะวันตกเฉียงใต้
ลมรวม หรือทิศร่วมของลม
Resul tant wind
คือเวคเตอร์ของลมซึ่งได้จากผลรวมทางเรขาคณิตของเวคเตอร์ลมจากหลาย ๆ ทิศ หรือ ทิศทางรวมของลมในช่วงระยะเวลาหนึ่งในการหาทิศร่วมของลมในรอบ 1 เดือนจะเขียนจำนวนครั้งของลมในเดือนนั้นที่พัดมาจากทิศทางต่าง ๆ ลงในทิศใหญ่ทั้งแปดด้วยเส้นตรงตามเสกลของจำนวนครั้ง แล้วคำรวณหาทิศร่วมของทิศทางลมทีละคู่โดยสูตรทางกลศาสตร์ จนกระทั่งได้ทิศร่วมเป็นขั้นสุดท้าย (จากพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2516)
ลมฝ่ายเหนือ
Norterly wind
ลมที่พัดมาจากทิศเหนือ หรือลมที่พัดเปลี่ยนไปมาระหว่างทิศตะวันตกเฉียงเหนือกับทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (สมัยก่อนเรียกว่า "ลมว่าว")
ลมฝ่ายใต้
Southerly wind
ลมที่พัดมาจากทิศใต้ หรือลมที่พัดเปลี่ยนไปมาระหว่างทิศตะวันตกเฉียงใต้กับทิศตะวันออกเฉียงใต้ (สมัยก่อนเรียกว่า "ลมตะเภา" หรือ ลมสำเภา")
ลมฝ่ายตะวันออก
Easterly wind
ลมที่พัดมาจากทิศตะวันออก หรือลมที่พัดเปลียนไปมาระหว่างทิศตะวันออกเฉียงเหนือกับทิศตะวันออกเฉียงใต้ (สมัยก่อนเรียกว่า "ลมตะวันออก")
ลมฝ่ายตะวันตก
Westerly wind
ลมที่พัดมาจากทิศตะวันตก หรือลมที่พัดเปลี่ยนไปมาระหว่างทิศตะวันตกเฉียงเหนือกับทิศตะวันตกเฉียงใต้ (สมัยก่อนเรียกว่า "ลมตะวันตก")
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ
Northeast wind
ลมที่พัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือแน่ทิศเป็นส่วนใหญ่ หรือเกือบเป็นประจำ (สมัยก่อนเรียกว่า "ลมอุตรา")
ลมตะวันตกเฉียงเหนือ
Northwest wind
ลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือแน่ทิศเป็นส่วนใหญ่ หรือเกือบเป็นประจำ (สมัยก่อนเรียกว่า "ลมตะโก้")
ลมตะวันออกเฉียงใต้
Southeast wind
ลมที่พัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้แน่ทิศเป็นส่วนใหญ่ หรือเกือบเป็นประจำ (สมัยก่อนเรียกว่า "ลมหัวเขา")
ลมตะวันตกเฉียงใต้
Southwest wind
ลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้แน่ทิศเป็นส่วนใหญ่ หรือเกือบเป็นประจำ (สมัยก่อนเรียกว่า "ลมพัทยา" และถ้าพัดรุนแรงจัดมากเข้าขั้นลมพายุเรียกว่า "ลมสลาตัน")
ลมอ่อนแปรปรวน
Light variable wind
เป็นลมีที่มีกำลังน้อยมาก และมีทิศทางเปลี่ยนแปลงไปไม่แน่นอน หมายเหตุ คนไทยแต่สมัยโบราณได้ศึกษาและสังเกตปรากฎการณ์ธรรมชาติเป็นเวลานานมาแล้ว นอกจากลมที่กล่าวข้างต้นคนโบราณยังเรียกลมบางชนิดว่า ลมกรด (jet stream) ลมบ้าหมู (whirl wind) ลมงวง (tornado) ลมข้าวเบา ลมเพชรหึง (จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน และจากคำแนะนำของ พล.ร.ต. ขุนวิสิฐธารารักษ์)
ลมกระโชก
Gust
ดู ลมกระโชก (gust)
ลมเชียร์ วินด์เชียร์ หรือเวคเตอร์เชียร์
Wind shear - shear vector
การเปลี่ยนแปลงเวคเตอร์ของลมในแนวต่าง ๆ ในที่หนึ่ง ๆ หรือการเปลี่ยนแปลงความเร็วลมในทิศทางที่บ่งระบุไว้
ลมเชียร์ หรือวินด์เชียร์ในแนวยืน
Vertical wind shear
การเปลี่ยนแปลงความเร็วลม หรือเวคเตอร์ของลมในแนวยืน
ลมเชียร์ หรือวินด์เชียร์ในแนวนอน
Horizontal wind shear
การเปลี่ยนแปลงความเร็วลม หรือเวคเตอร์ของลมในแนวนอน
แรงเชียร์
Shearing stress
แรงที่เกิดขึ้นเนื่องจากความหนือ (viscosity) ในบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงความเร็วลม หรือลมเชียร์ (wind shear)
ลมเชียร์แบบแอนติไซคลอนิค
Anticyclonic shear
ก. การเปลี่ยนแปลงความเร็วตามแนวนอนในชั่วขณะใดขณะหนึ่งที่กำหนดโดยขึ้นอยู่กับทิศทางของลม คือเมื่อความเร็วลมเปลี่ยนแปลงโดยลดกำลังลมลงจากซ้ายไปขวาในซีกโลกเหนือ โดยถือทิศทางที่ลมพัดไปเป็นหลัก และจากทางขวาไปซ้ายในซีกโลกใต้ ลมนั้นจะเป็นลมเชียร์แบบแอนติไซคลอนิค (Anticyclonic shear) ข. การเปลี่ยนแปลงความเร็วลมตามแนวยืน ทำให้เวคเตอร์ลม (wind vector) หมุนหรือเปลี่ยนเป็นเชียร์เวคเตอร์ที่จุด ๆ หนึ่ง นั่นคือเมื่อลมเปลี่ยนความเร็วทำให้เวคเตอร์ลมเปลี่ยนทิศไปโดยหมุนในทิศตามเข็มนาฬิกา (anticyclonic) ในซึกโลกเหนือ
ลมเชียร์แบบไซคลอนิค
Cyclonic shear
หมายถึง ก. การเปลี่ยนความเร็วลมตามแนวนอน ณ เวลาที่กำหนด โดยขึ้นอยู่กับทิศทางของลม คือเมื่อความเร็วลมเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มกำลังลมจากทางซ้ายไปขวาในซีกโลกเหนือ โดยถือทิศทางที่ลมพัดไปเป็นหลัก และจากทางขวาไปซ้ายในซีกโลกใต้ ลมนั้นจะเป็นลมเชียร์แบบไซคลอนิค (cyclonic shear) ข. การเปลี่ยนแปลงความเร็วลมตามแนวยืน ทำให้เวคเตอร์ลม (wind vector) หมุน หรือเปลี่ยนเป็นเชียร์เวคเตอร์ที่จุด ๆ หนึ่ง นั่นคือเมื่อลมเปลี่ยนความเร็วทำให้เวคเตอร์ลมหมุนเปลี่ยนทิศโดยหมุนในทิศทวนเข็มนาฬิกา (cyclonic) ในซีกโลกเหนือ
รูปแบบของลมในแนวยืน
Wind profile
เป็นกราฟซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงความเร็วลมที่เกี่ยวเนื่องกับความสูง หรือระยะทางในแนวยืน
รูปแบบของความเร็วลมในแนวยืนเป็นค่าล๊อกกะริซึม
Logarithmic velocity profile
รูปแบบ (ในรูปแบบของสูตร) ของการเปลี่ยนแปลงความเร็วลมเฉลี่ยตามความสูงในระดับใกล้ผิวพื้น
ค่าคงที่ของคาแมน
Karman's constant
ค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งใช้ในสูตรเกี่ยวกับรูปแบบของความเร็วในแนวยืนเป็นค่าล๊อกกะริซึม (logarithmic velocity profile)
วงเกลียวของเอคแมน
Ekman spiral
เส้นซึ่งลากผ่านจุดปลายสุดของเวคเตอร์ลมในระดับสูงต่าง ๆ (ตั้งแต่พื้นโลกขึ้นไป) เป็นเส้นแสดงการเปลี่ยนแปลงของเวคเตอร์ลมตามความสูงในระดับที่ยังมีความฝืดของพื้นพิภพอยู่โดยลมจะหมุนเป็นเกลียว หรือขดเป็นวงขึ้นไปตามระดับความสูง วงเกลียวเอคแมนนี้ยังใช้กับกระแสน้ำด้วย แสดงการเปลี่ยนแปลงของกระแสนน้ำเนื่องจากลมตามระดับความลึกของน้ำนับจากผิวหน้าน้ำลงไป
ลมท้องถิ่น
Local wind
หมายถึง ก. ลมในท้องถิ่นหนึ่ง ๆ ซึ่งมีอาณาเขตจำกัดพอควร เกิดขึ้นเนื่องมาจากสภาพของท้องถิ่นนั้น เช่น พื้นภูมิประเทศเป็นพื้นที่ขรุขระ มีช่องว่างทำให้เกิดลมแรงหรือลมผวน ข. ลมที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาเฉพาะ เนื่องจากสภาพของท้องถิ่นนั้น เช่น ลมบกที่เกิดในเวลากลางคืน และลมทะเลเกิดในเวลากลางวัน หรือลมภูเขา ลมหุบเขา ฯลฯ นอกจากนั้นยังอาจเกิดเนื่องจากเสถียรภาพของอากาศ เช่น พื้นดินร้อนขึ้น หรืออากาศที่เย็นกว่าเคลื่อนเข้ามาทำให้เกิดพายุฝุ่น และอาจเกิดพายุฟ้าคะนองขึ้นได้ถ้าอากาศนั้นไม่มีเสถียรภาพอย่างมาก
ลมค้า หรือลมเทรด
Trade winds
ลมซึ่งพัดออกจากบริเวณความกดอากาศสูงกึ่งโซนร้อน (subtropical high) หรือลมละติจูดม้า (horse latitude) คือประมาณละติจูด 30 ° - 40 ° เหนือและใต้ไปยังบริเวณความกดอากาศต่ำที่เส้นศูนย์สูตร ในซีกโลกเหนือจะพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้จะพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในบริเวณมหาสมุทรบางแห่ง ลมนี้จะพัดมาในทิศทางเดียวกันตลอดทั้งปี แต่บนภาคพื้นทวีปลมพัดแน่ทิศน้อยกว่าในมหาสมุทร เนื่องจากลักษณะของภูมิประเทศทำให้ทิศทางของลมค้าหรือลมเทรดเปลี่ยนแปลงไป แม้แต่ในบริเวณมหาสมุทรบางแห่งก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ เช่น ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิค ทิศทางของลมจะเปลี่ยนจากทิศตะวันออกเฉียวเหนือทางด้านตะวันออกของมหาสมุทรไปเป็นทิศตะวันออกทางด้านตะวันตกของมหาสมุทร การเลื่อนขึ้นลงของลำแสงดวงอาทิตย์บนพื้นโลก (declination) ก็เป็นสาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้บริเวณที่เกิดลมค้าหรือลมเทรดเลื่อนขึ้นเหนือลงใต้ตามฤดูกาล (จากพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2516) ลมค้าหรือลมเทรดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการหมุนเวียนส่วนใหญ๋ของโลก (general circulation)
ลมทวนลมค้า หรือลมแอนติเทรด
Antitrades
ลมชั้นบนที่อยู่เหนือลมค้าในเขตร้อนและพัดสวนทางกับลมค้า (จากพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2516) ลมที่พัดในทิศทางตรงกันข้ามกับลมค้าหรือลมเทรด (trade wind) เป็นลมตะวันตกที่มีชั้นของลมหนาวมากอยู่ในชั้นทรอโพสเพียร์ พัดอยู่ในแถบโซนร้อนทั้งสองซีกโลก บางครั้งพัดอยู่เหนือลมค้า ลมนี้มักจะพัดจากละติจูดต่ำ ๆ ไปรวมกับลมตะวันตก (westerlies) ที่อยู่ในละติจูดกลางซีกทางด้านที่อยู่ใกล้ศุนย์สูตร แต่ส่วนใหญ่ที่พบมักจะเป็นลมชั้นบนมากกว่าที่จะเป็นลมชั้นต่ำในระดับผิวพื้น ลมทวนลมค้าหรือลมแอนติเทรดนี้มักเกิดได้ดีในซีกโลกที่เป็นฤดูหนาวและมักเกิดขึ้นเหนือเขตริมสุดทางตะวันออกของบริเวณความกดอากาศสูงถึงโซนร้อน (subtropical high)
แถบลมสงบบริเวณศูนย์สูตร
Lquatorial calms
แถบที่มีลมสงบหรือลมอ่อนแปรปรวนปะทะกัน อยู่ในระหว่างบริเวณลมค้าหรือลมเทรดของทั้งสองซีกโลก
แถบลมสงบบริเวณกึ่งโซนร้อน
Subtropical calms
แถบที่มีลมสงบหรือลมอ่อนแปรปรวน อยู่ตรงแถบกลางของบริเวณความกดอากาศสูงกึ่งโซนร้อน (subtropical anticyclones) ของทั้งสองซีกโลก คือระหว่างลมค้าหรือลมเทรดกับลมตะวันตกในละติจูดกลาง
ลมตะวันออกแถบศูนย์สูตร
Equatorial easterlies
ลมตะวันออกในแถบบริเวณศูนยสูตร เป็นลมที่พัดกินอาณาเขตในแนวยีนสูงมากอยู่ตรงบริเวณที่ลมค้าหรือลมเทรดของทั้งสองซีกโลกพัดมาบรรจบกัน ซึ่งก็คือลมค้าที่มีความหนามากสูงถึง 8 - 10 กม. เกิดในซีกโลกที่เป็นฤดูร้อน ถ้าเกิดในซีกโลกที่เป็นฤดูหนาวจะเป็นบริเวณแคบ ๆ พัดตามแนวเส้นศูนย์สูตร
ลมแถบตะวันตกแถบศูนย์สูตร
Equatotial westerlies
ลมตะวันตกในแถบบริเวณศูนย์สูตรซึ่งเกิดเป็นครั้งคราว ตรงส่วนที่เป็นร่องความกดอากาศต่ำบริเวณศูนย์สูตร (equatorial trough) ซึ่งแยกจากลมตะวันตกในละติจูดกลางโดยมีลมค้าหรือลมเทรดตะวันออกกั้นกลางอยู่ ลมตะวันตกแถบศูนย์สูตรนี้อาจเกิดจากกระแสอากาศจากซีกโลกใต้เคลื่อนตัวข้ามเส้นศูนย์สูตรทางภูมิศาสตร์แล้วพัดเปลี่ยนทิศเป็นลมตะวันตกเข้ามาในซีกโลกเหนือที่เป็นฤดูร้อนก็ได้
ลมตะวันออกแถบโซนร้อน
Subtropical easterlies - tropical easterlies
คำนี้บางทีใช้กับลมค้าหรือลมเทรดซึ่งพัดอยู่ในระยะตื้น ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วลม (wind shear) ในแนวยืนอย่างชัดเจน
ลมตะวันออกแถบขั้วโลก
Folar easterlies
ลมตะวันออกที่พัดอยู่ในระดับต่ำและค่อนข้างกระจัดกระจาย อยู่ในแนวแถบความกดอากาศต่ำซับโพลา หรือแถบกึ่งขั้วโลก (the subpolar low pressure belt) ทางด้านที่ใกล้กับขั้วโลก
ลมแรงฝ่ายตะวันตก หรือลมตะวีนตกกล้า
Prave west winds
ชื่อลมซึ่งชาวเรือใช้เรียกลมฝ่ายตะวันตกที่พัดแรงและแน่ทิศ (preavailing direction) เหนือมหาสมุทรในเขตอบอุ่น ระหว่างละติจูด 40 ° ถึง 65 ° ในซีกโลกเหนือและระหว่างละติจูด 35 ° ถึง 65 ° ในซึกโลกใต้ ลมนี้มักจะพัดสม่ำเสมอและแรงจัดระหว่างละติจูด 40 ° ถึง 50 ° ใต้ มีชื่อเฉพาะเรียกว่า "roaring forties" (จากพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2516)
แถบลมพัดสอบเข้าหากันบริเวณโซนร้อน
Intertropical convergence zone
โซนแคบ ๆ ซึ่งลมค้าหรือลมเทรดจากทั้งสองซีกโลกมาบรรจบกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า equatorial convergence zone ซึ่งก็คือ เส้นศูนย์สูตรทางอุตุนิยมวิทยา
ลมเฟิน
Fohn
เป็นลมลงเขาชนิดหนึ่งซึ่งร้อนและแห้งพัดลงมาตามลาดด้านหลังเขา (lee side) มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามท้องถิ่นที่เกิด เช่น ลมที่พัดลงมาจากเทือกเขาร๊อคกึ้เรียกว่า "ลมชินุก - chinook" ในประเทศอาร์เจนตินาเรียกว่า "ลมซอนดา - zonda" ฯลฯ
คลื่นเฟิน
Fohn wave
การเคลื่อนที่ของอากาศ (ลมลงเขา) มีลักษณะเป็นคลื่นอยู่ทางด้านบังลมหลังเขาและอยู่เหนือบริเวณที่เกิดลมเฟิน
ลมเฟินในอากาศ
Free air fohn
ลมร้อนและแห้งที่เกิดอยู่ในอากาศชั้นบน เกิดเนื่องจากอากาศในบรรยากาศอิสระ(ไม่มีแรงเสียดทานของโลกเข้ามาเกี่ยวข้อง) ซึ่งอยู่สูงกว่าบรรยากาศใกล้พี้นโลกจมตัวลงต่ำ
ลมหิมะถล่ม - ลมแอวาแลนซ์
Avalanche wind
ลมที่พุ่งมาจากภูเขาอย่างรวดเร็ว เกิดขึ้นเนื่องจากหิมะถล่ม หรือแผ่นดินถล่มลงมาจากภูเขา
ลมธารน้ำเข็ง
Glacier wind
ลมธารน้ำเข็ง
พายุหิมะ หรือพายุบลิซซาร์ด
Blizzard
ลมพายุที่หนาวจัดและหอบเอาหิมะมาด้วยเป็นจำนวนมาก ส่วนมากเป็นหิมะฝอย ๆ ละเอียดและแห้ง หรือย่างน้อยก็พัดหอบเอาหิมะขึ้นไปจากพื้นดิน พายุหิมะนี้สหรัฐอเมริกากำหนดไว้ว่ามีความเร็วลม 32 ไมล์/ชม. หรือมากกว่านี้ เมื่อลมนี้หอบเอาหิมะมาจะทำให้ทัศนวิสัยลดลง และถ้าพายุหิมะแรงจัดมากบางครั้งทัศนวิสัยจะเป็นศูนย์ คำว่า bizzard นี้มีต้นกำเนิดมาจากอเมริกาเหนือ แต่ก่อนมาก็นำมาใช้เรียกพายุที่เกิดขึ้นในประเทศอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกัน
เครื่องกั้นลม
Shelterbelt - windbreak
สิ่งที่ใช้กำบัง หรือกั้นลมที่ดัดแปลงขึ้นเพื่อจะลดความรุนแรงของลมในแถบที่มีลมแรงจัด เช่น แนวต้นไม้ใหญ่ หรือพุ่มไม้เตี้ย ๆ
รั้วกั้นหิมะ
Snow fence
แบบเดียวกับเครื่องกั้นลมโดยทั่ว ๆ ไป สร้างเป็นรั้วโปร่ง ๆ ห่างพอสมควรออกไปจากที่ ๆ ไม่ต้องการให้หิมะพัดเข้ามา รั้วดังกล่าวจะกั้นหิมะให้ตกลงมากองทางด้านหลังรั้ว
เครื่องยนต์ซึ่งทำงานด้วยแรงลม
wind generator
เครื่องยนต์ซึ่งออกแบบสร้างโดยนำพลังงานจุลย์ (kinetic energy)ของลมมาใช้ประโยชน์
ความจุลม
Capacity of the wind
ปริมาณทั้งหมดของอนุภาคของสสาร หรือวัตถุซึ่งถูกพัดพาไป (ต่อหนึ่งหน่วยปริมาตรของอากาศ) โดยลมที่มีความเร็วเท่าที่กำหนด
ลิโธเมทิออร์
Lithometeor
คำที่ใช้ทั่ว ๆไปสำหรับอนุภาค หรือสสารซึ่งเป็นของแข็งไม่มีน้ำเจือปนที่ลอยอยู่ในบรรยากาศ หรือลมพัดพาลอยขึ้นจากพื้นดิน รวมทั้งผงฝุ่น ฟ้าหรัว ควัน และทราย
กำแพงฝุ่น หรือกำแพงทราย
Dust wall or sand wall
ด้านหน้าของพายุฝุ่น หรือพายุทราย ซึ่งมีลักษณะที่มองเห็นคล้ายกับกำแพงสูงใหญ่มีความกว้างเป็นไมล์ ๆ และสูงเป็นพันฟุต เคลื่อนที่อย่างช้า ๆ หรือด้วยความเร็วสูงก็ได้
พายุฝุ่น หรือพายุทราย
Dustatorm or sandstorm
พายุที่มีกลุ่มฝุ่น หรือทรายปลิวคลุ้งในอากาศ มักเกิดในฤดูแล้ง
ความดันของแรงลม
Wind pressure
ความดันทั้งหมดซึ่งเกิดจากการที่ลมกระทำต่อพื้นที่ที่รับลมนั้น ถ้าเป็นพื้นที่ราบจะรับความดันของแรงลมได้เต็มที่ทางด้านรับลม (windward side) ของพื้นที่นั้น ส่วนด้านหลังแรงอัดเนื่องจากลมจะน้อยมากความดันของแรงลมนี้บางทีเรียกว่า velocity pressure)
ลมขั้นบน
Upper wind
ลมซึ่งพัดในบรรยากาศชั้นบน ๆ ที่ไม่ติดกับพื้นผิวโลก ภาษาอังกฤษเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า wind sloft
ลมกรด หรือกระแสลมกรด
Jet stream
กระแสลมแรงจัดซึ่งพัดอยู่ในชั้นบน เคลื่อนที่ในลักษณะเป็นลำแคบ ๆ แบนและยาวมาก คล้ายกับบำธารของกระแสลม โดยปกติเกิดในบรรยากาศใกล้ ๆ ชั้นทรอโพพอส (tropo - pause) มีแกนยาวไปตามแนวแกนของลมซึ่งมีความเร็วสูงสุด และไม่เพียงแต่ไปตามแนวแกนที่มีกำลังลมสูงสุดอย่างเดียวเท่านั้นต้องมีความชันของความเร็วลมในภาคตัดขวางมากอีกด้วย (strong transverse gradient of speed) ลมกรดนี้บางครั้งสามารถแยกออกได้เป็นสองกระแส กระแสใหญ่คือ "ลมกรดบริเวณแนวปะทะอากาศขั้วโลก - polar front jet stream" ซึ่งเกิดร่วมกับแนวปะทะอากาศขั้วโลกที่ละติจูดกลาง หรือเหนือขึ้นไป อาจกล่าวโดยคร่าว ๆ ว่า ลมกรดนี้พาดคดเคี้ยวอยู่รอบซีกโลกเหนือ แต่เป็นแนวไม่ต่อเนื่องกันเช่นเดียวกับแนวปะทะอากาศขั้วโลก แนวนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในวันต่อมา ลมกรดอีกกระแสหนึ่งคือ "ลมกรดกึ่งโซนร้อน - subtropical jet stream" พบอยู่ระหว่างละติจูดที่ 20 ° - 30 ° ในระดับสูงประมาณ 10 ° -13 ° กม. และมีกำลังแรงมากที่สุดนอกฝั่งทวีปเอเซีย โดยทั่ว ๆ ไปความเร็วลมในลมกรดเท่ากับ หรือมากว่า 50 นอต (93 ก,./ชม.) ขึ้นไป บางครั้งมึความเร็วลมสูงถึง 300 กม./ชม.
บริเวณลมพัดเข้าหากัน
Entrance region
บริเวณที่มีลมพัดสอบเข้าหากัน (confluence) ตรงต้นลมกรด (up - wind end of a jet stream)
บริเวณลมพัดออกจากกัน
Exit region
บริเวณที่กระแสลมพัดแยกออกจากกันที่ตรงปลายสุดของลมกรด (down - wind end of a jet stream)
การไหลขึ้นของกระแสอากาศในแนวยืน หรือการพาความร้อน
Convection
ในทางอุตุนิยมวิทยาหมายถึงการไหลขึ้นของอากาศในแนวชั้นอากอาศชั้นหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการผสมคลุกเคล้าคุณสมบัติของอากาศในแนวยืนขึ้น เช่น มีการถ่ายเทความร้อน โมเมนตัม ฯลฯ และถ้าอากาศไหลขึ้นนี้เป็นไปอย่างรุนแรงจะทำให้เกิดเมฆประเภทคิวมูลัสขึ้น การไหลในแนวยืนนี้ไม่เหมือนกับการไหลในทางแนวราบซึ่งเรียกว่า adavection
การไหลขึ้นอย่างอิสระ
Free convection
การไหลขึ้นของกระแสอากาศในแนวยืนอย่างอิสระเป็นผลเนื่องมาจากความไม่สมดุลย์ทางไฮโดรสแตติค (hydrostatic instability) คือมีความแน่นแตกต่างกันภายในมวลอากาศ
การไหลขึ้นเนื่องจากแรงดัน
Forced convection
คือการไหลขึ้นของกระแสอากาศในแนวยืนที่เกิดขึ้นเนื่องจากแรงทางเมแคนิคส์ (mechanical forces) เช่น อากาศไหลขึ้นเมื่อพัดปะทะภูเขา ที่ราบสูง หรือพื้นที่ขรุขระ (orographic lifting) อากาศไหลขึ้นตามแนวปะทะอากาศ (frontal lifting) และอากาศไหลสอบเข้าหากันแล้วลอยขึ้น (convergence)
เซลล์ของการไหลวนในแนวยืน
Convection cell
การไหลของ ๆ ไหล หรืออากาศในแนวยืนที่มีกระบวนการประสานกันอย่างดีเป็นการไหลภายใน (internal motion) ซึ่งไม่มีการผสมคลุกเคล้ากับมวลอากาศข้างนอก หรือถ้ามีก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ลักษณะของการไหลหรือการเคลื่อนที่วนเป็นวงหรือเซลล์ ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปการไหลขึ้นหรือลอยขึ้นของอากาศออกจากแหล่งกำเนิดความร้อนในตอนกลางของวง หรือเซลล์แล้วจมลงตรงบริเวณรอบนอก
เบบาร์ดเซลล์
Benard cell
เซลล์ของการไหลบนในแนวยืนของอากาศ ซึ่งทำให้การทดลองในห้องปฎิบัติการโดยให้ความร้อนอย่างช้า ๆ กับของไหลชั้นบาง ๆ ที่ใช้ทดลองจากข้างใต้ เมื่อของไหลนั้นร้อนขึ้นจะลอยขึ้นตรงใจกลางแล้วไหลจมลงบริเวณรอบนอก หรืออาจมีพฤติการณ์กลับกันก็ได้ เซลล์ของการไหลดังกล่าวเรียกว่า "เบนาร์ดเซลล์" การไหลดังกล่าวบางครั้งเกิดขึ้นในเมฆที่เป็นชั้น(layered cloud) โดยการที่ยอดเมฆเย็นลงเนื่องจากการแผ่รังสีในตอนกลางคืน การไหลภายในเมฆบางแบบมีลักษณะของการไหลชนิดเบนาร์ดเซลล์เป็นบริเวณกว้าง
อัตราเปลี่ยนแบบออโตคอนเวคทิฟ
Autoconvective lapse rate
คืออัตราการลดอุณหภูมิตามความสูงที่เพิ่มขึ้นของบรรยากาศรอบ ๆ เมื่อความแน่นของอากาศคงที่ตามความสูง (บรรยากาศเป็นเนื้อเดียวกัน homogeneous atmosphere)
มีค่า = g/R
เมื่อ g = อัตราเร่งของแรงโน้มถ่วง หรือความถ่วง (acceleration of gravity))
R = ค่าคงที่ของการ (gas constant)
อัตราเปลี่ยนแบบออโตคอนเวคทิฟ สำหรับอากาศแห้งมีค่าประมาณ 3.4 ° ซ./100 เมตร
การไหลขึ้น
Updraught
การไหลขึ้นของกระแสอากาศพื้นที่แคบๆในเมฆพายุฟ้าคะนอง
การไหลลง
Downdraught
การไหลลงของกระแสอากาศพื้นที่แคบๆในเมฆพายุฟ้าคะนอง
กระแสความร้อน
Thermal
คือการไหลขึ้นของกระแสอากาศในท้องถิ่นหนึ่ง ๆ เนื่องจากความร้อนเกิดเมื่อพื้นดินร้อนขึ้นโดยได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ทำให้บรรยากาศที่ตรงนั้นร้อนขึ้นจนเกิดอเสถียรภาพสัมบูรณ์ (absolute instabitlity) ขึ้นในบรรยากาศชั้นต่ำสุด (ติดกับพื้นดิน) คำนี้ใช้กับกระแสอากาศไหลขึ้นในบริเวณเล็ก ๆ และแห้งเกินกว่าจะก่อตัวเป็นเมฆซึ่งเกิดจากกระแสอากาศไหลในแนวยืน (convective clouds) ดังนั้น "กระแสความร้อน" นี้จึงเป็นต้นเหตุโดยทั่ว ๆ ไปที่ทำให้เกิดการปั่นป่วนในอากาศแจ่มใส (clear - air turbulence) ขึ้นได้ในระยะต่ำ ๆ
เอนเทรนเมนท์ หรือการเข้าไปผสม
Entrainment
หมายถึงการที่อากาศซึ่งอยู่รอบนอกเข้าไปผสมคลุกเคล้ากับอากาศภายในเมฆ หรือในกระแสอากาศ (ในแนวยืน) จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระแสอากาศนั้น
การจมลง
Subsidence
การจมลงอย่างช้า ๆ ของมวลอากาศบริเวณกว้าง ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีอากาศไหลแผ่ออกในแนวนอน (Horizontal divergence) ในชั้นต่ำ ๆ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศแจ่มใส
คลื่นหลังภูเขา
Lee wave
คลื่นของกระแสอากาศซึ่งเกิดขึ้นหลังภูเขา หรือเนินเขาด้านปลายลม
คลื่นทรงตัว
Standing wave
การเคลื่อนที่ของคลื่นอากาศ ซึ่งยอดคลื่นและร่องคลื่นมีขนาดคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง (stationary) เมื่อเทียบกับ (with respect to) พื้นโลก คลื่นดังกล่าวนี้มักเกิดร่วมกับการไหลของอากาศซึ่งผ่านภูเขา (airflow over mountains)
ผลของเฟนทูรี่
Venturi effect
เป็นผลที่เกิดขึ้นเมื่อลมพัดผ่านช่องเขาแคบ ๆ หรือคอคอด (gorge) โดยทำให้ความกดอากาศตรงบริเวณนั้นลดลง ความเร็วลมเพิ่มขึ้นและมีลมกระโชกเกิดขึ้นด้วย
ลมเฉือน
Wind shear - shear vector
การเปลี่ยนแปลงทิศทางและความเร็วของลมในแนวระดับต่าง ๆ