Link Copied
หิมะ
หิมะ
Snow
ผลึกน้ำแข็ง ส่วนมากมีลักษณะเป็นแฉก ๆ บางครั้งมีรูปคล้ายดาว
ผลึกหิมะ
Snow crystals
ส่วนมากมีลักษณะเป็นแฉก ๆ บางครั้งมีรูปคล้ายดาว อาจจะเกิดแยกกันหรือรวมกันเป็นแผ่นหรือเป็นเกล็ดบาง ๆ
เกล็ดหิมะ
Snowflakes
ผลึกหิมะที่เกาะรวมกันเป็นแผ่น หรือเกล็ดบาง ๆ
ลูกปรายหิมะ
Snow pellets (soft hail)
น้ำฟ้าในรูปของเม็ดน้ำแข็งสีขาวทึบแสง มีรูปร่างกลมแต่บางครั้งอาจเป็นรูปทรงกระบอกเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2- 5 มม. (0.1 - 0.2 นิ้ว)
เม็ดหิมะ
Snow grains
เม็ดน้ำแข็งสีขาวและทึบแสง มีขนาดเล็กมาก เม็ดหิมะนี้มีลักษณะแบนหรือยาว เส้นผ่าศูนย์กลางโดยทั่วไปเล็กกว่า 1 มม. (0.04 นิ้ว)
ปริซึมน้ำแข็ง
Ice prisms
ผลึกน้ำแข็งเป็นรูปปริซึมที่ตกลงมาในรูปลักษณะเป็นเข็ม แท่ง หรือแผ่น มีขนาดเล็กและบางมากจนดูคล้ายกับลอยอยู่ในอากาศ อาจเกิดจากเมฆหรือไอน้ำในอากาศที่โปร่งแจ่มใส
เส้นขอบหิมะ
Snow - line
โดยทั่วไปหมายถึงบริเวณขอบนอกของหิมะที่ปกคลุมพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ที่ใช้อยู่มีอย่างน้อย 2 แบบ คือ ก. climatic snow-line เส้นขอบหิมะภูมิอากาศ หมายถึงระดับความสูงที่ต่ำสุดในบริเวณภูเขาสูงซึ่งหิมะปกคลุมเป็นบริเวณต่อเนื่องกันในฤดูร้อน ข. orographic snow-line เส้นขอบหิมะภูเขา หมายถึงระดับความสูงที่ต่ำสุดซึ่งปรากฎมีหย่อมหิมะปกคลุมอยู่บนพื้นโลกอย่างถาวรในฤดูร้อน เนื่องจากสภาพของพื้นที่บริเวณภูเขาอำนวย
วันหิมะตก
Snow day
วันที่มีหิมะตก
พายุหิมะ
Snow - storm
หิมะจำนวนมากที่มาพร้อมลมพายุที่หนาวจัด ทำให้ทัศนวิสัยลดลง บางครั้งทัศนวิสัยอาจเป็นศูนย์ เกิดได้ 2 กรณี คือ
ก. การแปรปรวน (disturbance) ทางอุตุนิยมวิทยา ทำให้เกิดพายุและมีหิมะตกหนัก
ข. ลมพายุที่พัดหิมะฟุ้งกระจาย
พริ้วหิมะ และหิมะฟุ้ง
Drifting snow and blowing snow
เกิดเนื่องจากหิมะถูกกระแสลมแรงและปั่นป่วนพัดพาลอยสูงขึ้นไปจากพื้นดิน
พริ้วหิมะ หรือหิมะพัดลอยละล่องไป
Drifting snow
เกิดเนื่องจากหิมะถูกลมพัดลอยละล่องไปสูงจากพื้นดินเล็กน้อยไม่เกิน 6 ฟุต ทัศนวิสัยในแนวระดับสายตา พอมองเห็นได้
หิมะฟุ้ง
Blowing snow
เป็นผลที่เกิดจากหิมะถูกลมพัดพาลอยสูงจากพื้นดินปานกลางหรือสูงมาก (6 ฟุต หรือ สูงกว่า) ทำให้ทัศนวิสัยเลวลงโดยทั่วไปในระดับสายตา
หิมะตก
Snowfall
ความสูงของหิมะที่ตกและสะสมในช่วงเวลาที่กำหนด
หิมะปกคลุม
Snow cover
ก. หิมะซึ่งปกคลุมพื้นดินทั่วไป หรือเป็นหย่อม ๆ ข. หิมะที่สะสมอยู่บนพื้นดินในขณะที่ทำการตรวจ
วันที่มีหิมะปกคลุม
Day of snow lying
วันที่มีหิมะปกคลุมพื้นดินเป็นบริเวณอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ณ สถานีตรวจที่มีหิมะปกคลุมอยู่
การสำรวจหิมะ
Snow survey
การสำรวจจำนวนหิมะทั้งหมดที่ปกคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำ (watershed region) หรือบริเวณที่กำหนด โดยสำรวจความสูงและความจุน้ำ (water conten) และนำผลการตรวจไปใช้ในการประเมิน หรือพยากรณ์จำนวนน้ำซึ่งจะได้หลังจากหิมะละลายแล้ว
ความสูงของหิมะ
Depth of snow
ระยะในแนวดิ่งระหว่างผิวของชั้นหิมะกับผิวพื้นดินใต้หิมะ โดยสมมติว่าหิมะแผ่ปกคลุมพื้นดินสม่ำเสมอในระดับเดียวกัน
ความแน่นของหิมะ
Density of snow
มวลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตรของตัวอย่างหิมะซึ่งเก็บจากพื้นโลก
กระบวนการละลายหิมะ
Ablation
กระบวนการร่วมต่าง ๆ เช่น การระเหิด - sublimation, การละลาย - melting, การระเหย - evaporation ที่ใช้กำจัดหิมะ หรือน้ำแข็งจากผิวของธารน้ำแข็ง (glacier) หรือจากผิวของทุ่งหิมะ (snow - field)
กระบวนการเพิ่มหิมะ
Alimentation
กระบวนการต่าง ๆ ที่กระทำเพื่อเพิ่มมวลของธารน้ำแข็ง หรือทุ่งหิมะ (glacier or snow - field) เช่น การทับถมของหิมะ (deposition of snow) เป็นการเพิ่มหิมะในธารน้ำแข็งที่มากที่สุด ส่วนการเพิ่มหิมะด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น น้ำฟ้าที่เกิดพร้อมกับการระเหิด การกลับเยือกแข็งขึ้นใหม่ของน้ำที่ได้จากการละลาย ฯลฯ นั้นเป็นเพียงส่วนย่อยเท่านั้น
การสะสมหิมะ
Accumulation
ปริมาณหิมะ หรือน้ำในรูปอื่น ๆ ซึ่งเป็นของแข็งที่เพิ่มเข้าไปในธารน้ำแข็งหรือทุ่งหิมะ (glacier or snow - field) โดยกระบวนการเพิ่มหิมะ (alimentation)
หิมะน้ำแข็ง
Firn
หิมะเก่า ๆ ซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นก้อนน้ำแข็งมีลักษณะกลมและอัดแน่น เนื่องจากกระบวนการหรือกรรมวิธีต่าง ๆ ของการละลายและกลับแข็งตัวใหม่ รวมทั้งกระบวนการระเหิดจากไอน้ำเป็นน้ำแข็งด้วย มีพบอยู่ตามบริเวณต้นกำเนิดของธารน้ำแข็งซึ่งในที่สุดหิมะน้ำแข็งก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำแข็งทั้งหมด และไหลเลื่อนไปรวมกับธารน้ำแข็ง
แนวหิมะน้ำแข็ง หรือเส้นขอบหิมะน้ำแข็ง
Firn line
แนวเขตซึ่งแบ่งระหว่างพื้นที่การสะสมหิมะของธารน้ำแข็ง (accumulation of glacier) (อยู่ข้างบน) และพื้นที่ของการกำจ้ดหิมะ (ablation) (อยู่ข้างล่าง)
กองหิมะ
Snow - drift
มวลหิมะซึ่งถูกลมพัดพาไปกองทับถมไว้ตามสิ่งกีดขวาง หรือตามพื้นที่สูง ๆ ต่ำ ๆ
หิมะถล่ม
Avalanche
มวลหิมะ และน้ำแข็งที่ไหลลงมาตามไหล่เขาอย่างฉับพลันพาเอาดิน เศษดินและหินทุกชนิดลงมาด้วย ซึ่งดินและหินต่าง ๆ เหล่านี้สามารถทำลายสิ่งต่าง ๆ ที่ขวางกั้นและทำให้เกิด " ลมหิมะถล่ม" (avalanche wind) ด้วย
ลูกเห็บ
Hail
น้ำฟ้าที่ตกลงมาในลักษณะเป็นก้อนหรือชิ้นน้ำแข็ง มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 5 มม. (0.2 นิ้ว) ขึ้นไป
ก้อนลูกเห็บ
Hailstone
คือก้อน หรือชิ้นน้ำแข็งแต่ละก้อน มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 5 - 50 มม. (0.2 - 2.0 นิ้ว) หรือบางครั้งอาจมีขนาดโตกว่านี้ ส่วนใหญ่มักเป็นก้อนน้ำแข็งใสหรือชิ้นน้ำแข็งใส หรือเป็นชั้นน้ำแข็งใสสลับกับชั้นน้ำแข็งทึบแสง (น้ำแข็งฝ้า) แต่ละชั้นหนาอย่างน้อย 1 มม. มีรูปร่างต่างกัน
ลูกปรายน้ำแข็ง
Ice pellets
น้ำฟ้าที่ตกลงมาในรูปของเม็ดน้ำแข็งใสหรือฝ้า มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือเป็นรูปต่าง ๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มม. (0.2 นิ้ว) หรือเล็กกว่า แบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ
ก. ฝนน้ำแข็ง หรือเม็ดน้ำค้าง (sleet or grain of ice) เกิดจากเม็ดฝนที่เยือกแข็ง (frozen raindrop) หรือเกล็ดน้ำแข็งที่ละลายแล้วกลับแข็งตัวขึ้นใหม่
ข. ลูกเห็บชนิดเล็ก (small hail) เป็นก้อนหิมะฝ้าที่ถูกเคลือบไว้ด้วยชั้นบาง ๆ ของน้ำแข็ง เกิดจากการจับพอกของหยดน้ำที่แข็งตัวบนเม็ดหิมะเล็ก ๆ หรือจากการละลายแล้วกลับแข็งตัวขึ้นใหม่ของส่วนผิว่ของเม็ดหิมะ