Link Copied
การพยากรณ์อากาศ+
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอลโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
การพยากรณ์อากาศ+
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอลโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
แผนปฎิบัติเกี่ยวกับชั้นโอโซน
แถลงการณ์จากองค์การอุตุนิยมวิทยาฉบับแรกถึงอันตรายของชั้นโอโซนปี ค.ศ. 1975 เพื่อเป็นพื้นฐานของแผนปฏิบัติตามกฎหมาย องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เรียกร้องให้มี "การทดสอบความจำเป็นและการตัดสินมาตราการควบคุมการปล่อยสารสังเคราะห์ในประเทศ และระหว่างประเทศ" ปี 1976 และจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน ร่วมกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ณ กรุงวอชิงตันดีซี วันที่ 1-9 มีนาคม 1977 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกออกรายงาน "การสำรวจสถานะความรู้ความเข้าใจต่อชั้นโอโซน" ที่รวมข้อเสนอแนะเรื่องการตรวจติดตามโอโซน และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การทำแบบจำลองและปฏิบัติการโฟโตเคมีคัล และการตรวจวัดรังสีอัลตราไวโอเลตชนิดบี เป็นต้น องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้ตั้งกองทุนสำหรับแผนปฏิบัติระหว่างประเทศตัวแทนจาก 32 ประเทศ รับข้อเสนอแผนปฏิบัติเกี่ยวกับชั้นโอโซน แผนวิจัยต่างๆ 21 เรื่องครอบคลุมไปถึงการตรวจติดตามโอโซน และรังสีดวงอาทิตย์ การประเมินผลกระทบจากโอโซนลดลงต่อสุขภาพมนุษย์ ระบบนิเวศน์และภูมิอากาศ และการพัฒนาวิธีการประเมินต้นทุนและกำไรของมาตรการควบคุมต่างๆ โดยที่ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก รับผิดชอบแผนวิจัยด้านบรรยากาศ องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ให้ความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยการรับแผนปฏิบัติการ ผู้เชี่ยวชาญยอมรับว่ายังมีอุปสรรค อย่างไรก็ตามได้มีความพยายามในบางประเทศ ก่อนเช่น อเมริกา คานาดา นอรเวย์ และสวีเดน ในการเริ่มหยุดใช้ กระป๋องสเปรย์ ในปี 1980 ประชาคมยุโรป มีข้อตกลงไม่เพิ่มการผลิต CFC-11 และ CFC-12 และลดการใช้ในกระป๋องสเปรย์ ลง 30 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 1982ในการส่งเสริมแผนปฏิบัติ นั้น องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้ตั้งคณะกรรมการประสานงานเรื่อง ชั้นโอโซน ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากประเทศต่างๆ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์กรเอกชน(NGO) ซึ่งมีการพบปะประสานงาน จนกระทั่งกลางทศวรรษ 1980 ได้กลายมาเป็นจุดศูนย์กลางปฏิบัติการระหว่างประเทศ สมมุติฐาน ต่างๆ ได้รับการถกเถียงกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ และความท้าทายในภาคอุตสาหกรรม จนกระทั่งความต้องการที่จะควบคุมสารซีเอฟซีกลายมาเป็นที่ยอมรับ
รูปที่ 19 คลอรีนส่วนใหญ่ในบรรยากาศ 82 เปอร์เซ็นต์ มาจากการสังเคราะห์ และ 18 เปอร์เซ็นต์มาจากธรรมชาติ
อนุสัญญาเวียนนา
- นับเป็นเวลาหลายปีที่ความห่วงใยอย่างต่อเนื่อง และข่าวสารทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น นำไปสู่การยอมรับระหว่างประเทศมากขึ้น ในความต้องการที่จะปฏิบัติตามแผน เพื่อปกป้องชั้นโอโซนในเดือนมกราคม ปี 1982 องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ จัดให้มีการประชุมครั้งแรกของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฏหมาย และวิชาการเพื่อความร่วมมือต่อการพิทักษ์ชั้นโอโซน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกเตรียมการด้านวิทยาศาสตร์ และที่ประชุมได้กำหนดข่ายงานของอนุสัญญา หลังจาก 3 ปี ของการเจรจาระหว่าง โดยองค์การสิ่งแวดล้อมแห่ง สหประชาชาติ อนุสัญญาจึงได้รับการยอมรับ ณ กรุงเวียนนา ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1985 โดยทั้ง 21 มาตราของอนุสัญญาเป็นการให้คำมั่นของสมาชิก เพื่อปกป้องสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากผลกระทบที่โอโซนลดลง โดยส่งเสริมความร่วมมือในการวิจัยโอโซนในบรรยากาศ การตรวจอย่างเป็นระบบ โอโซน การตรวจติดตามการผลิตสารทำลายโอโซน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร พิธีสารมอนทรีออลหลังจากองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้ผลักดันให้มีการลงนามใน อนุสัญญาเวียนนา ว่าด้วยการพิทักษ์ชั้นโอโซน ในปี พ.ศ.2528 (1985) ปัจจุบันมี สมาชิก 176 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ต่อมาได้มีข้อกำหนดที่เรียกว่า พิธีสารมอนทรีออล ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2530 (1987) ณ นคร มอนทรีออล โดยประเทศต่างๆทั่วโลกจำนวน 47 ประเทศได้ให้สัตยาบันต่อข้อกำหนด ว่าด้วยการลด และเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน รัฐบาลต่างๆ เห็นความจำเป็นของมาตรการที่แข็งแกร่งเพื่อลด และเลิกใช้สารทำลายโอโซน ซึ่งได้แก่ CFC-11, CFC-12, CFC-113, CFC-114, CFC-115 และ Halon -1211, Halon-1301, Halon-2402 จึงมีหมายกำหนดเลิกใช้บนพื้นฐานการประเมินทางวิทยาศาสตร์ นับจากนั้นมาได้มีประเทศอื่นที่ให้สัตยาบันต่อพิธีสารแล้วกว่า 175 ประเทศ (ข้อมูลวันที่ 20 กรกฎาคม 2543) รวมทั้งประเทศไทย (โดยได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 ) และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปีต่อๆ มาอีก 5 ครั้ง เพื่อเพิ่มมาตรการในการควบคุมสารทำลายโอโซนให้รัดกุมและได้ผลเร็วขึ้น ได้แก่
- การแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซนในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกครั้งที่ 2 ณ นครลอนดอน พ.ศ.2533 หรือ London Amendment 1990 มีเนื้อหาเพื่อลดการใช้ CFC-13, 111, 112, 211, 212, 213, 214, 215, 216, 217 รวมทั้ง คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4)และ เมธิลคลอโรฟอร์ม (CH3CCl3) ปัจจุบันมีสมาชิก 141 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย
- การแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซนในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกครั้งที่ 4 ณ นครโคเปนฮาเกน พ.ศ.2535 หรือ Copenhagen Amendment 1992 มีเนื้อหาเพื่อลดการใช้ เมทธิลโบรไมด์ (CH3Br) ไฮโดรโบรโมฟลูออโรคาร์บอน (HBFCs) และ ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFCs) ปัจจุบันมี สมาชิก 108 ประเทศ รวมทั้งป000ระเทศไทย
- การแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซน ในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกครั้งที่ 7ณ กรุง เวียนนา พ.ศ.2538 หรือ Vienna Adjustment 1995 มีกำหนดการควบคุมเมทธิลโบรไมด์
- การแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซน ในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกครั้งที่ 9 ณ นครมอนทรีออล พ.ศ.2540 หรือ Montreal Amendment 1997 มีกำหนดเลิกใช้ เมทธิลโบรไมด์ ปัจจุบันมี สมาชิก 39 ประเทศ
- การแก้ไขข้อกำหนดในการควบคุมสารทำลายชั้นโอโซน ในการประชุมประเทศภาคีสมาชิกครั้งที่ 11 ณ นครปักกิ่ง พ.ศ.2542 หรือ Beijing Amendment 1999 เพิ่มเติมการควบคุมสาร โบรโมคลอโรมีเทน และ ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (ปัจจุบันมี สมาชิก 1 ประเทศ)
หมายเหตุ พันธกรณีสำหรับประเทศไทย รับผิดชอบโดย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ผลที่จะเกิดหากไม่มีพิธีสารมอนทรีออล
ประมาณปี ค.ศ. 2050 จะมีการสูญเสียโอโซนเพิ่มขึ้นเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ ในแถบละติจูดกลางของซีกโลกเหนือ และ 70 เปอร์เซ็นต์ในซีกโลกใต้ ซึ่งมีความรุนแรงกว่าปัจจุบันถึง 10 เท่า ผลที่ตามมาจะทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตส่องถึงพื้นโลกได้ 2 เท่าตัว ในเขตละติจูดกลางซีกโลกเหนือ และ 4 เท่าในซีกโลกใต้ ปริมาณสารทำลายโอโซน ที่มีการปลดปล่อยจะมากกว่าเดิมถึง 5 เท่า อันตรายจากมะเร็งผิวหนังชนิดนอนมีลาโนมา จะเพิ่มขึ้นเป็น 19 ล้านราย และ มะเร็งมีลาโนมาจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 ล้านราย และโรคตาจะเพิ่มเป็น 130 ล้านราย โดยประมาณ นักวิทยาศาสตร์ทำนายผลการสูญเสียโอโซน จะถึงจุดสูงสุดภายในไม่กีปีข้างหน้านี้แล้วจะค่อยๆ รุนแรงน้อยลงจนกระทั่งกลับคืนสภาพปกติประมาณปี ค.ศ.2050 โดยสมมุติฐานที่พิธีสารมอนทรีออลได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่ แม้ว่าการปลดปล่อยสารซีเอฟซีจะน้อยลง ความเข้มข้นในชั้นสตราโตสเฟียร์จะยังคงเพิ่มขึ้น แม้ว่าในบรรยากาศชั้นล่างๆ จะลดลงแล้ว เนื่องจากสารซีเอฟซีมีช่วงชีวิตยาว และจะขึ้นไปอย่างต่อเนื่องในชั้นสตราโตสเฟียร์ ปริมาณของสารซีเอฟซี คาร์บอนเตตระคลอไรด์ และ เมทธิลคลอโรฟอร์ม กำลังลดน้อยลงแล้ว ส่วนความเข้มข้น ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (สารทดแทน) กำลังสูงขึ้นความสำเร็จของการพิทักษ์ชั้นโอโซนมีความเป็นไปได้เพราะว่า วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมสามารถพัฒนา และใช้สารทดแทนสารเคมีที่ทำลายโอโซนในเชิงพานิชย์ ประเทศพัฒนาแล้วได้สิ้นสุดการใช้สารซีเอฟซีเร็วกว่า และด้วยราคาที่ต่ำกว่าในฐานะเป็นผู้นำต้นแบบสารทดแทนที่สำคัญ โดยเฉพาะด้านอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ ได้หันมาใช้ น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน และ ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ในการทำโฟม ส่วนของเครื่องทำความเย็นได้หันมาใช้สารทดแทน ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอนซึ่งมีศักยภาพการทำลายชั้นโอโซนต่ำ รวมไปถึง ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) แอมโมเนีย และไฮโดรคาร์บอนในเครื่องทำความเย็นแบบ Greenfreeze เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้มีการนำเอาสารดับเพลิงที่มีอยู่กลับมาใช้ใหม่ ในระหว่างการพัฒนาสารทดแทน และประเทศอุตสาหกกรรมพยายามใช้สารทดแทนในกรณีจำเป็น เพราะว่ายังมีศักยภาพในการทำลายเช่นกันการทำนายอนาคตของคลอรีน เนื่องจากการมีพิธีสารแสดงดังรูปที่ 20
รูปที่ 20 การตรวจวัดสมดุลคลอรีนในบรรยากาศนับแต่ปี ค.ศ.1960 และการทำนายเนื่องจากการลดเลิกใช้สารซีเอฟซีและสารทำลายโอโซนต่างๆ ตัวเลขข้างล่างชี้การลดลงของโอโซนต่อสิบปี หากพิธีสารมอนทรีออลประสบความสำเร็จ
สมดุลคลอรีน การคืนสู่สภาพเดิมของโอโซน
ขึ้นอยู่กับปริมาณคลอรีนและโบรมีนจะน้อยลงเร็ว เพียงใดนักวิทยาศาสตร์ได้คำนวณความเข้มข้นเหล่านี้ เป็นค่าการมี สมดุลคลอรีนในสตราโตสเฟียร์ เพื่อนำไปใช้ประมาณการลดลงของโอโซน
เมทธิลโบรไมด์(CH3Br) เป็นสารเคมีที่ใช้กันกว้างขวางอีกตัวหนึ่งและให้อะตอมโบรมีน ซึ่งมีผลทำลายโอโซนได้มากกว่าคลอรีนถึง 30-60 เท่า ใช้เป็นสารรมดิน(fumigant) และพืชผลต่างๆ รวมทั้ง การบำบัดโรคติดต่อในผลิตภัณฑ์บางชนิด และเติมในน้ำมันเชื้อเพลิง มีปริมาณการปล่อยมากกว่า 40,000 ตัน หรือ 2 เท่าในทศวรรษที่ ค.ศ. 1980 นอกจากนี้ยังมาจากแหล่งธรรมชาติเช่นการเผาไหม้มวลชีวภาพมีถึง 30,000-50,000 ตันต่อปี มากกว่าครึ่งหนึ่งของเมทธิลโบรไมด์ที่ผลิตขึ้นจะถูกปล่อยสู่บรรยากาศ และปัจจุบันมีความเข้มข้นอยู่ระหว่าง 8-15 ส่วนต่อพันล้านส่วนโดยปริมาตร และยังไม่มีสารเคมีทดแทนในปัจจุบัน
กองทุนพหุภาคีและสิ่งแวดล้อมโลก (The Multilateral Fund and Global Environment Facility) กองทุนพหุภาคีเป็นกลไกเพื่อความช่วยเหลือด้านการเงิน กับประเทศกำลังพัฒนาในการเลิกใช้และผลิตสารทำลายโอโซน ก่อตั้งขึ้นภายใต้พิธีสารมอนทรีออลในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1990 ส่วนกองทุนพหุภาคีและสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) ก่อตั้งโดยประชาคมโลกเพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ในกิจกรรมการเลิกใช้สารทำลายโอโซน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยา และน่านน้ำสากล กองทุนทั้งสองได้รับการส่งเสริมจาก องค์การสหประชาชาติและธนาคารโลก
รูรั่วโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกา
1.9 อัพเดทรูรั่วโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติก?
1.10 อัพเดทการลดลงของโอโซนเหนือทวีปอาร์กติก?
หน่วยวัดโอโซนในบรรยากาศ ?
"หน่วยด็อบสันหรือ Dobson Unit" เราวัดโอโซนในบรรยากาศเป็นความหนาเหนือพื้นที่คอลัมน์ ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียสและที่ความกดอากาศ 1 บรรยากาศ หน่วยเป็น มิลลิ-บรรยากาศ-เซนติเมตร (milli-atmosphere-centimetre or m-atm-cm) หรือ หน่วยด็อบสัน โดยที่ 1 m-atm-cm = 1 D.U. = 10-5 m = 10-3 cm ของโอโซนบริสุทธิ์ที่ STP = 2.687x1016 molecules.cm-2 = 2.141 mg.cm-1 1 mm at STP = 0.1 D.U. = 2.687x1015 molecules.cm-2 = 1 part per million metre (=1.0 ppmm at STP)