Link Copied
การหมุนเวียนทั่วไปในบรรยากาศ
ปรากฏการณ์ของบรรยากาศทางอุตุนิยมวิทยา ที่เกิดขึ้นนั้นล้วนแล้วเกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนส่วนใหญ่ของอากาศ ในบรรยากาศชั้นโทรพอสเฟียร์(Large scale general circulation) ทฤษฏีของระบบการหมุนเวียนนี้ นับเป็นเรื่องยุ่งยากที่สุดเรื่องหนึ่งในการศึกษาอุตุนิยมวิทยา เนื่องจากสาเหตุการเกิดมาจากปัจจัยที่สำคัญหลายอย่าง คือ
- อิทธิพลของความร้อนการได้รับความร้อนที่แตกต่างกันของพื้นโลกทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของมวลอากาศ
- แรงเฉที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก( coriolis force)ทำให้เกิดการเบี่ยงเบนทิศทางของกระแสลม
- คุณสมบัติของพื้นทวีปและมหาสมุทรทำให้เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิของแผ่นดิน และพื้นน้ำตามฤดูกาลที่เปลี่ยนไปในฤดูหนาวบริเวณผืนแผ่นดิน จะมีความเย็นมากกว่าบริเวณพื้นน้ำ ส่วนใน ฤดูร้อนบริเวณแผ่นดิน จะมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณพื้นน้ำ และโดยเหตุที่พื้นโลกมีเนื้อที่เป็นพื้นน้ำและแผ่นดินไม่เท่ากันการหมุนเวียนของบรรยากาศส่วนใหญ่ จึงมีลักษณะยุ่งยากมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ความแตกต่างของอุณหภูมิ ยังทำให้เกิดความแตกต่างของความกดอากาศขึ้นในฤดูหนาวความกดอากาศสูงจะเกิดขึ้นเหนือพื้น แผ่นดินของทวีป และในฤดูร้อนความกดอากาศสูงจะเกิดขึ้นเหนือพื้นน้ำบริเวณมหาสมุทร
- สมดุลความร้อนของโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร
ภาวะสมดุลความร้อนของโลก เกิดจากการที่โลกได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์เท่าไรก็สะท้อนกลับออกไปเท่านั้น โดยคงเก็บความร้อนไว้ในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ ที่เกิดจากดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเล็ตของก๊าซโอโซนใว้ ทำให้เกิดความอบอุ่นในบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก มีภาวะที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์สัตว์และพันธุ์ไม้
Tags:
#หนังสืออุตุนิยมวิทยา
หมวดหมู่:
พยากรณ์
|
หน่วยงาน:
กองพยากรณ์อากาศ
|
ประเภทข้อมูล:
อื่นๆ