Link Copied
ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาที่ตรวจวัดเพื่อการพยากรณ์อากาศ
ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาที่ตรวจวัดเพื่อการพยากรณ์อากาศ ประกอบด้วย สารประกอบทางอุตุนิยมวิทยาที่ เป็นปัจจัยหลักที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับลักษณะอากาศที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจวัดเพื่อวิเคราะห์ และศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องสารประกอบดังกล่าวมีดังนี้
1. ความกดอากาศ
2. ลม
3. อุณหภูมิ
4. ความชื้นสัมพัทธ์
5. เมฆ
6. หยาดน้ำฟ้า
7. รังสีดวงอาทิตย์
8. การระเหยของน้ำ
9. ทัศนะวิสัย
เครื่องมือที่ใช้ในระบบการพยากรณ์อากาศ
เครื่องมือที่ใช้ในระบบการพยากรณ์อากาศสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้ เครื่องมือตรวจอากาศผิวพื้น เครื่องมือตรวจอากาศชั้นบน เครื่องมือตรวจอากาศพิเศษ เครื่องมือตรวจวัดระดับน้ำและเครื่องมือตรวจวัดความสูงของคลื่น
เครื่องมือตรวจอากาศผิวพื้น
ในสถานีตรวจอากาศผิวพื้นแต่ละสถานีจะมีสนามอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเป็นที่สำหรับตรวจวัดอากาศผิวพื้น โดยเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้จะตรวจวัดสารประกอบอุตุนิยมวิทยา ตามเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน ซึ่งจะมีเวลาหลักของการตรวจวัด คือเวลา 0000Z (07.00 น.) และเวลา 1200Z (19.00 น.) โดยในระหว่างเวลาหลักเหล่านี้ อาจมีการตรวจวัดเพิ่มเติมได้ตามที่กำหนดไว้เพื่อความเหมาะสม
เครื่องมือตรวจอากาศชั้นบน
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของลักษณะอากาศ มีความเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะ สารประกอบอุตุนิยมวิทยาในระดับชั้นบน ซึ่งอยู่นอกเหนือจากผิวพื้นของโลกด้วย ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องตรวจวัดสารประกอบอุตุนิยมวิทยาในบรรยากาศด้วย โดยเฉพาะในชั้นโทรโพสเฟียร์ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาที่ตรวจวัด เพื่อการพยากรณ์อากาศที่ตรวจวัด โดยเครื่องมือตรวจอากาศชั้นบนนี้ โดยมากจะเป็นข้อมูลหลักทางอุตุนิยมวิทยา เช่น อุณหภูมิ ความกด ลมและความชื้นอากาศในระดับต่าง ๆ การตรวจวัดข้อมูลเหล่านี้ใช้เครื่องมือหลักที่เรียกว่า Radiosonde
เครื่องมือตรวจอากาศพิเศษ
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจวัดปรากฏการณ์หรือลักษณะอากาศที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยเสริมในการวิเคราะห์พยากรณ์อากาศ เครื่องมือตรวจอากาศพิเศษเหล่านี้มีหลายอย่าง อาทิ เรดาร์ตรวจอากาศ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา และเครื่องมือสำหรับตรวจวัดความสูงของคลื่น แสดงภาพถ่ายดาวเทียมแบบต่าง ๆ VI, IR ภาพแสดงตรวจฝนด้วย Radar