Link Copied
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
ดาวเทียมอุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมซึ่งใช้ในการตรวจวัดข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถตรวจวัดข้อมูลอากาศในที่ ๆ มนุษย์ไม่สามารถทำการตรวจวัดได้โดยตรงจากเครื่องมือตรวจอากาศชนิดอื่น ๆ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้อยู่ในที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ชนิดวงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Meteorological Satellite) โคจรรอบโลกใช้เวลา 24 ชั่วโมง เท่ากับโลกหมุนรอบตัวเอง โดยวงโคจรอยู่ในตำแหน่งเส้นศูนย์สูตรของโลกมีความสูงจากพื้นโลกประมาณ 35,800 กิโลเมตร และโคจรไปในทางเดียวกับการหมุนของโลก ทำให้ตำแหน่งดาวเทียมจะสัมพันธ์กับตำแหน่งบนพื้นโลกในบริเวณเดิมเสมอ
Geostationary Satellite
2. ชนิดวงโคจรผ่านใกล้ขั้วโลก ( Near Polar Orbiting Meteorological Satellite )โคจรผ่านใกล้ขั้วโลกเหนือและใต้ มีความสูงจากพื้นโลกประมาณ 850 กิโลเมตร โคจรรอบโลกประมาณ 102 นาที ต่อ 1 รอบ ในหนึ่งวันจะหมุนรอบโลกประมาณ 14 รอบ และจะเคลื่อนที่ผ่านเส้นศูนย์สูตรในเวลาเดิม (ตามเวลาท้องถิ่น) 2 ครั้ง โดยโคจรเคลื่อนที่จากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ 1 ครั้ง และโคจรเคลื่อนที่จากขั้วโลกใต้ไปยังขั้วโลกเหนืออีก 1 ครั้ง การถ่ายภาพของดาวเทียมชนิดนี้ จะถ่ายภาพและส่งสัญญาณข้อมูลสู่ภาคพื้นดินในเวลาจริง ( Real Time ) ในขณะที่ดาวเทียมโคจรผ่านพื้นที่นั้น ๆ โดยมี Track ความกว้าง 2,700 กิโลเมตร