Link Copied
ลมบกและลมทะเล คืออะไร
ลมทะเล เป็นลมแถบบริเวณชายฝั่งที่พัดจากทะเลเข้าสู่ฝั่งในเวลากลางวัน เกิดขึ้นเนื่องจากในเวลากลางวันพื้นดินร้อนกว่าพื้นน้ำ ดังนั้นอากาศเหนือพื้นดินซึ่งร้อนกว่าจะเบา และลอยตัวสูงขึ้น อากาศซึ่งเย็นกว่าจากทะเลจะเคลื่อนเข้ามาแทนที่ (เข้าสู่ฝั่ง) เพื่อไม่ให้เสียสมดุลย์ความร้อน ทำให้เกิดลมทะเลขึ้น ลมทะเลนี้โบราณเรียกว่า “ลมขึ้น
ลมบก เป็นลมแถบบริเวณชายฝั่งที่พัดออกจากฝั่งสู่ทะเลในเวลากลางคืน เกิดขึ้นเนื่องจาก ในเวลากลางคืนแผ่นดินเย็นกว่าพื้นน้ำ ดังนั้น อากาศเหนือพื้นน้ำซึ่งร้อนกว่าจะเบา และลอยตัวสูงขึ้น ลมจึงพัดจากแผ่นดินที่เย็นกว่า จากฝั่งไปสู่บริเวณพื้นน้ำที่ร้อนกว่า (เพื่อไม่ให้เสียสมดุลย์ความร้อน) ทำให้เกิดลมบกขึ้น ลมบกนี้โบราณเรียกว่า “ลมล่อง”
ประเทศไทยตอนบน หมายถึงส่วนใดของประเทศ
ประเทศไทยตอนบน หมายถึง บริเวณตั้งแต่ก้นอ่าวไทยขึ้นไปทางเหนือ หรือประมาณละติจูด 13 o 30 เหนือ ถึงละติจูด 20 o 30 เหนือ ซึ่งได้แก่พื้นที่ 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
ประเทศไทยมีอากาศหนาวที่สุดที่ไหน เมื่อไร และร้อนที่สุดที่ไหน เมื่อไร
ประเทศไทยมีอากาศหนาวที่สุดทางตอนบนของประเทศ ได้แก่บริเวณตอนบนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม อุณหภูมิต่ำที่สุดที่เคยวัดได้ในคาบ 49 ปี (พ.ศ. 2494-2543) ในภาคเหนือ คือ 0.8 องศาเซลเซียส ที่ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ส่วนในภาคตะวันออก คือ –1.4 องศาเซลเซียส ที่ จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2517
ประเทศไทยมีอากาศร้อนที่สุด บริเวณตอนกลางของประเทศซึ่งอยู่ห่างไกลจากฝั่งทะเล ได้แก่บริเวณตอนกลางของภาคเหนือต่อเนื่องถึงภาคกลาง ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน อุณหภูมิสูงที่สุดที่เคยวัดได้ในคาบ 49 ปี (พ.ศ. 2494-2543) ในภาคเหนือ คือ 44.5 องศาเซลเซียส ที่ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2503 ส่วนในภาคกลาง คือ 43.5 องศาเซลเซียส ที่ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2501 วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2526 และในวันที่ 14 กับ 20 เมษายน พ.ศ. 2535
พายุอะไรที่มีอิทธิพลกับประเทศไทยมากที่สุด และเกิดบริเวณใดบ้าง
พายุที่มีอิทธิพลมากที่สุด มี 2 ชนิด คือ
1. พายุหมุนเขตร้อน มักเกิดและมีผลกระทบกับประเทศไทยในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะในประเทศไทยตอนบนซึ่งประกอบด้วยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก ส่วนพื้นที่ในภาคใต้มักเกิดขึ้นและส่งผลกระทบในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมซึ่งเป็นช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
2. พายุฤดูร้อน เป็นพายุที่เกิดในช่วงฤดูร้อน และส่วนใหญ่เกิดขึ้นพร้อมกับมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง พื้นที่ที่พบส่วนมากอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลา
พายุหมุนเขตร้อนจะเคลื่อนเข้าประเทศไทยทางบริเวณใดมากที่สุด บริเวณที่ศูนย์กลางพายุฯเคลื่อนผ่านมากที่สุด คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน บริเวณจังหวัดนครพนม เดือนที่มีพายุฯ เคลื่อนเข้ามาที่จังหวัดนครพนมมากที่สุดคือเดือนกันยายน รองลงมาคือเดือนสิงหาคม
รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนปัจจุบันได้มาจากไหน และทำไมถึงต้องตั้งชื่อพายุฯ
ชื่อและความหมายถูกกำหนดขึ้นจากประเทศในทวีปเอเชีย และบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการไต้ฝุ่น และประเทศสหรัฐอเมริการวมทั้งหมด 14 ประเทศ ใช้สำหรับเรียกชื่อพายุหมุนเขตร้อน ที่มีแหล่งกำเนิดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก และในทะเลจีนใต้ รายชื่อชุดปัจจุบันเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2543 โดยจะเรียงลำดับตามตัวอักษรของชื่อประเทศสมาชิก ที่เสนอสาเหตุที่ต้องตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารระหว่างนักพยากรณ์อากาศ เช่น ในกรณีที่ต้องติดตามการเคลื่อนตัวของพายุฯ หรือการออกคำเตือนเกี่ยวกับพายุฯ และเพื่อลดความสับสนในกรณีที่มีพายุฯ เกิดขึ้นหลายลูกในเวลาและบริเวณใกล้เคียงกัน