Link Copied
การเกิดฤดูกาล
ฤดูหรือฤดูกาล เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเนื่องจาก
แกนของโลกที่หมุนรอบตัวเองเอียงทำมุม 23.5 องศา กับแนวซึ่งตั้งฉากกับแนวโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ตำแหน่งที่รังสีดวงอาทิตย์ ตกตั้งฉากกับพื้นโลกเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาของแนวทางการโคจร โดยมีตำแหน่งตั้งฉากเหนือสุดที่ 23.5 N เมื่อตำแหน่งดวงอาทิตย์เลื่อนขึ้นอยู่ในซีกโลกเหนือ และมีตำแหน่งใต้สุดที่ละติจูด 23.5 S เมื่อตำแหน่งดวงอาทิตย์เลื่อนลงไปอยู่ในซีกโลกใต้ สาเหตุ ดังกล่าวทำให้พื้นที่ต่าง ๆ บนพื้นโลกในแต่ละช่วงเวลามีอุณหภูมิแตกต่างกันไป จนสามารถแบ่งช่วงเวลาของโอโซน และภาวะเรือนกระจก การเกิดฤดูตามเขตต่าง ๆ ได้โดยพิจารณาตำแหน่งการโคจรของดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์
บรรยากาศมีบทบาทต่อโลกอย่างไร
อากาศที่มีอยู่รอบโลกของเรานี้ มีอยู่ตั้งแต่พื้นดินขึ้นไปจนถึงระดับสูง ๆ ในท้องฟ้า ใกล้พื้นดินอากาศจะมีความแน่นมาก ส่วนที่ระดับสูง ๆ จากพื้นดินขึ้นไปอากาศจะเล็กลงหรือเจือจางลง เช่น ที่ระดับสูงประมาณ 6 กิโลเมตรจากพื้นดิน จะมีอากาศจางลงและเหลือเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของอากาศที่ผิวพื้นดิน ที่ระดับสูง 6 กิโลเมตรนี้ มนุษย์ต้องใช้หน้ากากออกซิเจนช่วยในการหายใจจึงจะมีชีวิตอยู่ได้
นอกจากอากาศหรือบรรยากาศ จะมีความจำเป็นในการหายใจสำหรับชีวิตของมนุษย์และสัตว์แล้ว บรรยากาศยังมีหน้าที่ช่วยปกป้องโลกอีกหลายอย่าง เช่น
บรรยากาศทำหน้าที่คล้ายเครื่องบังคับอุณหภูมิไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป
บรรยากาศทำหน้าที่คล้ายร่มบังแสงจากดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นโลกไม่ร้อนเกินไป และบรรยากาศยังสกัดกั้นรังสีอัลตราไวโอเลต ที่มีอันตรายจากดวงอาทิตย์ไม่ให้ผ่านลงมาถึงพื้นโลกมากเกินไปด้วย โดยบรรยากาศที่ระดับสูง ๆ จากพื้นดินทำหน้าที่กรองหรือดูดรังสีอัลตราไวโอเลต หรือแสงเหนือม่วงเอาไว้ รังสีอัลตราไวโอเลตหรือแสงเหนือม่วงมีอันตรายต่อ ร่างกายของมนุษย์ สัตว์ และพืช เพราะฉะนั้นรังสีที่ผ่านมาถึงพื้นโลกจึงมีแต่รังสีแสง ซึ่งช่วยให้เรามองเห็นและรังสีความร้อนเป็นส่วนใหญ่
ภาพแสดงบรรยากาศทำหน้าที่คล้ายเครื่องบังคับอุณหภูมิไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป
(ที่มา : สารานุกรมสำหรับเยาวชนไทย เล่ม 2 หน้า 66)
บรรยากาศทำหน้าที่คล้ายเรือนกระจก
บรรยากาศยอมให้รังสีจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นคลื่นสั้นผ่านเข้ามายังพื้นโลก เมื่อพื้นโลกรับรังสีจากดวงอาทิตย์แล้ว จะส่งรังสีออกไปอีกแต่เป็นรังสีคลื่นยาว รังสีคลื่นยาวที่ส่งออกมาจากพื้นโลกนี้ จะถูกบรรยากาศและไอน้ำดูดไว้เป็นส่วนมาก โดยเหตุนี้โลกจึงมีความอบอุ่นอยู่เสมอ มิฉะนั้นแล้วที่พื้นโลกจะร้อนเกินไปในเวลากลางวัน และจะหนาวเกินไปในเวลากลางคืน
ในลักษณะเช่นนี้ บรรยากาศทำหน้าที่คล้ายเรือนกระจก สำหรับเพาะปลูกต้นไม้เมืองร้อนให้เติบโตได้ในเขตหนาว เรือนกระจกยอมให้รังสีคลื่นสั้นของดวงอาทิตย์ผ่านเข้ามาได้ แต่ไม่ยอมให้รังสีคลื่นยาวภายในเรือนกระจกผ่านออกไป ฉะนั้นภายในเรือนกระจกจึงอบอุ่นอยู่เสมอ และต้นไม้จากเขตร้อนจึงสามารถเติบโตในเขตหนาวได้
ภาพแสดงบรรยากาศทำหน้าที่คล้ายเรือนกระจก
(ที่มา : สารานุกรมสำหรับเยาวชนไทย เล่ม 2 หน้า 67)