Link Copied
ภัยแล้ง(Drought)
1. ภัยแล้งคืออะไร
ภัยแล้ง คือ ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน
2. สาเหตุของการเกิดภัยแล้งมีอะไรบ้าง
1. โดยธรรมชาติ
1.1 การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก
1.2 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
1.3 การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล
1.4 ภัยธรรมชาติ เช่น วาตภัย แผ่นดินไหว
2. โดยการกระทำของมนุษย์
2.1 การทำลายชั้นโอโซน
2.2 ผลกระทบของภาวะเรือนกระจก
2.3 การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
2.4 การตัดไม้ทำลายป่า
สำหรับภัยแล้งในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและทิ้งช่วง ซึ่งฝนแล้งเป็นภาวะปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
รูปที่ 3 สภาพดินแตกระแหง เมื่อเกิดภัยแล้ง
3. ฝนแล้งมีความหมายอย่างไร
ด้านอุตุนิยมวิทยา : ฝนแล้งหมายถึง
สภาวะที่มีฝนน้อยหรือไม่มีฝนเลยในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งตามปกติควรจะต้องมีฝน โดยขึ้นอยู่กับสถานที่และฤดูกาล ณ ที่นั้น ๆ
ด้วย
ด้านการเกษตร : ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะการขาดแคลนน้ำของพืช
ด้านอุทกวิทยา : ฝนแล้ง หมายถึง
สภาวะที่ระดับน้ำผิวดินและใต้ดินลดลง หรือน้ำในแม่น้ำลำคลองลดลง
ด้านเศรษฐศาสตร์ : ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะการขาดแคลนน้ำ
ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจในภูมิภาค
4.
การแบ่งระดับความรุนแรงของฝนแล้งแบ่งได้อย่างไร
ความรุนแรงของฝนแล้งแบ่งได้ดังนี้
ภาวะฝนแล้งอย่างเบา
ภาวะฝนแล้งปานกลาง
ภาวะฝนแล้งอย่างรุนแรง
5. ฝนทิ้งช่วงคืออะไร
หมายถึง ช่วงที่มีปริมาณฝนตกไม่ถึงวันละ 1
มิลลิเมตรติดต่อกันเกิน 15 วัน ในช่วงฤดูฝน เดือนที่มีโอกาสเกิดฝนทิ้งช่วงสูงคือ เดือนมิถุนายนและกรกฎาคม
6. ภัยแล้งในประเทศไทยสามารถเกิดช่วงเวลาใดบ้าง
ภัยแล้งในประเทศไทยจะเกิดใน
2 ช่วง ได้แก่
1. ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน ซึ่งเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณประเทศไทยตอนบน
(ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก) จะมีปริมาณฝนลดลงเป็นลำดับ
จนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของ ปีถัดไป ซึ่งภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
2.
ช่วงกลางฤดูฝน ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม จะมีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น
ภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหรือบางบริเวณ บางครั้งอาจครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเกือบทั่วประเทศ
7.
พื้นที่ใดในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
ภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อการเกษตรกรรม
โดยเป็นภัยแล้งที่เกิดจากขาดฝนหรือ ฝนแล้ง ในช่วงฤดูฝน และเกิด ฝนทิ้งช่วง ในเดือนมิถุนายนต่อเนื่องเดือนกรกฎาคม
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมาก ได้แก่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง
เพราะเป็นบริเวณที่อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง และถ้าปีใดไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านในแนว
ดังกล่าวแล้วจะก่อให้เกิดภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ยังมีพื้นที่อื่น ๆ
ที่มักจะประสบปัญหาภัยแล้งเป็นประจำอีกดังตารางข้างล่าง
ภาค/เดือน | เหนือ | ตะวันออกเฉียงเหนือ | กลาง | ตะวันออก |
ใต้ | |
ฝั่งตะวันออก | ฝั่งตะวันตก | |||||
ม.ค. |
ฝนแล้ง | |||||
ก.พ. |
ฝนแล้ง |
ฝนแล้ง | ฝนแล้ง | |||
มี.ค. |
ฝนแล้ง |
ฝนแล้ง |
ฝนแล้ง | ฝนแล้ง |
ฝนแล้ง |
ฝนแล้ง |
เม.ย. |
ฝนแล้ง |
ฝนแล้ง |
ฝนแล้ง | ฝนแล้ง |
ฝนแล้ง | |
พ.ค. |
ฝนแล้ง | |||||
มิ.ย. |
ฝนทิ้งช่วง |
ฝนทิ้งช่วง |
ฝนทิ้งช่วง |
ฝนทิ้งช่วง | ||
ก.ค. |
ฝนทิ้งช่วง |
ฝนทิ้งช่วง |
ฝนทิ้งช่วง |
ฝนทิ้งช่วง |
8. ในอดีตภาวะภัยแล้งเกิดขึ้นที่ใดและเมือใด
ในช่วงปี 2510-2536
เกิดภัยแล้งในหลายพื้นที่เนื่องจากฝนทิ้งช่วงกลางฤดูฝนเป็นระยะเวลายาวนานกว่าปกติ ตั้งแต่กรกฎาคมถึงกันยายน
บริเวณที่ได้รับผลกระทบเป็นบริเวณกว้างคือ ภาคเหนือต่อภาคกลางทั้งหมด ตอนบนและด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันออก
พ.ศ. 2510 พื้นที่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา
รวมถึงตอนบนของประเทศเกือบทั้งหมดในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งกรุงเทพมหานคร
มีปริมาณฝนน้อยมาก ทำให้เกิดภัยแล้งขึ้น
พ.ศ. 2511 พื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางของภาคเหนือบริเวณจังหวัดพิษณุโลก
ภาคกลางทั้งภาคตลอด ถึงด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และตลอดฝั่งอ่าวไทยของภาคใต้เกือบทั้งหมด
ได้รับปริมาณฝนน้อยมาก และส่งผลให้เกิดภัยแล้ง
พ.ศ. 2520
มีรายงานว่าเกิดภัยแล้วในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนสิงหาคม พื้นที่ที่ประสบภัยเกือบทั่วประเทศ
พ.ศ. 2522
เป็นปีที่เกิดฝนแล้งรุนแรง โดยมีรายงานว่าเกิดภัยแล้งในช่วงครึ่งหลังของเดือนกรกฎาคม
และช่วงปลายเดือนสิงหาคมต่อเนื่องถึงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกันยายน เนื่องจากปริมาณฝนตกลงมามีน้อยมาก
ทำความเสียหายและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเฉพาะด้านเกษตรกรรรม และอุตสาหกรรมรวมทั้งการผลิตไฟฟ้า
นอกจากนั้นยังกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศเพราะขาดน้ำกิน น้ำใช้ บริเวณที่แล้งจัดนั้นมีบริเวณกว้างที่สุดคือ
ภาคเหนือต่อภาคกลางทั้งหมด ทางตอนบนและด้านตะวันตก ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน
พ.ศ. 2529
มีรายงานความเสียหายจากสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กระทรวงหมาดไทยว่า บริเวณที่ประสบภัยมีถึง 41 จังหวัด
ซึ่งภัยแล้งในปีนี้เกิดจากภาวะฝนทิ้งช่วงที่ปรากฏ ชัดเจนเป็นเวลาหลายวัน คือช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน
ช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ช่วงครึ่งหลังของเดือนกันยายนและช่วงครึ่งแรกของเดือนตุลาคม
พ.ศ. 2530
เป็นปีที่ประสบกับภัยแล้งหนักอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ประสบมาแล้วจากปี 2529 โดยพื้นที่ที่ประสบภัยเป็นบริเวณกว้างใน
เกือบทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก และทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงตอนกลางฤดูฝน
พ.ศ.
2533 มีฝนตกน้อยมากในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนทั่วประเทศ
พื้นที่ทางการเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้วส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้
พ.ศ. 2534 เป็นปีที่ปริมาณฝนสะสมมีน้อยตั้งแต่ต้นฤดูฝน
เนื่องจากมีฝนตกในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางน้อยมาก อีกทั้งระดับน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ
อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าปกติมาก กรมชลประทานไม่สามารถที่จะระบายน้ำลงมาช่วงเกษตรกรที่อยู่ใต้เขื่อนได้
ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำขึ้น ในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตก
พ.ศ.
2535 มีรายงานว่าเกิดภัยแล้งขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมต่อเนื่องถึงเดือนมิถุนายนจากภาวะที่มีฝนตกในช่วงฤดูร้อนน้อย
และมีภาวะฝนทิ้งช่วงปลายเดือนมิถุนายนต่อเนื่องต้นเดือนกรกฎาคม โดยพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งส่วนใหญ่อยู่ใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้และภาคเหนือตามลำดับ
พ.ศ. 2536 มีรายงานว่าเกิดภัยแล้ง
ในช่วงเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม และในช่วงกลางเดือนมิถุนายน
เนื่องจากเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม นอกจากนั้นในช่วงปลายฤดูเพาะปลูก
ฝนหมดเร็วกว่าปกติ โดยพื้นที่ที่ประสบภัยส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตามลำดับ
9. ปัญหาภัยแล้งในประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง
กับการดำรงชีวิตของประชาชน
ภัยแล้งในประเทศไทยมีผลกระทบโดยตรงกับการเกษตรและแหล่งน้ำ
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศ ที่ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ภัยแล้งจึงส่งผลเสียหายต่อกิจกรรมทางการเกษตร
เช่น พื้นดินขาดความชุ่มชื้น พืชขาดน้ำ พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำ รวมถึงปริมาณลดลง
ส่วนใหญ่ภัยแล้งที่มีผลต่อการเกษตร มักเกิดในฤดูฝนที่มีฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ผลกระทบที่เกิดขึ้นรวมถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ
ดังนี้
1. ด้านเศรษฐกิจ สิ้นเปลืองและสูญเสียผลผลิตด้านเกษตร ปศุสัตว์ ป่าไม้ การประมง เศรษฐกิจทั่วไป เช่น
ราคาที่ดินลดลง โรงงานผลิตเสียหาย การว่างงาน สูญเสียอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยว พลังงาน อุตสาหกรรมขนส่ง
2.
ด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสัตว์ต่าง ๆ ทำให้ขาดแคลนน้ำ เกิดโรคกับสัตว์ สูญเสียความหลากหลายพันธุ์
รวมถึงผลกระทบด้านอุทกวิทยา ทำให้ระดับและปริมาณน้ำลดลง พื้นที่ชุ่มน้ำลดลง ความเค็มของน้ำเปลี่ยนแปลง
ระดับน้ำในดินเปลี่ยนแปลง คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลง เกิดการกัดเซาะของดิน ไฟป่าเพิ่มขึ้น
ส่งผลต่อคุณภาพอากาศและสูญเสียทัศนียภาพ เป็นต้น
3. ด้านสังคม เกิดผลกระทบในด้านสุขภาพอนามัย
เกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำและการจัดการคุณภาพชีวิตลดลง
10.
วิธีการแก้ปัญหาภัยแล้งทำได้อย่างไร
วิธีการแก้ปัญหาภัยแล้วสามารถกระทำได้ดังนี้
1. แก้ปัญหาเฉพาะหน้า
เช่น แจกน้ำให้ประชาชน ขุดเจาะน้ำบาดาล สร้างศูนย์จ่ายน้ำ จัดทำฝนเทียม
2. การแก้ปัญหาระยะยาว โดยพัฒนาลุ่มน้ำ เช่น
สร้างฝาย เขื่อน ขุดลอกแหล่งน้ำ รักษาป่าและปลูกป่า ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมมือในการจัดทำและพัฒนาชลประทาน